ศูนย์บริการ
'สื่อการเรียนรู้สุขภาวะ'
ผู้ที่สนใจสามารถดาวน์โหลดสื่อความรู้ต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้ต่อยอดการเรียนรู้ สู่การมีสุขภาวะที่ดีในทุกมิติ
สำหรับโรงเรียนที่ต้องการแนวทางจัดการโรงเรียนอ่อนหวาน สามารถดาวน์โหลดแผนนโยบายได้ที่นี่ค่ะ
To view this video please enable JavaScript, and consider upgrading to a web browser that supports HTML5 video
ภาวะความบกพร่องทางการเห็นหรือพิการ ทางการเหน็บเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุโดยมีสาเหตุ จากการเปลี่ยนแปลงหรือความเสื่อมที่เกิดขึ้นตามวัย หรือจากโรคภัยไข้เจ็บเนื่องจาก “ตาและการมองเห็น” เป็นประสาทสัมผัสหลักที่ใช้ในการดำาเนินชีวิต เมื่ออวัยวะนี้ เสื่อมสภาพลงจนเกิดภาวะตาพร่ามัวกระทั่งมองไม่เห็น (ที่เรียกว่าตาเลือนรางหรือตาบอด) ย่อมทำาให้เกิดความ ตระหนก ซึมเศร้า ท้อแท้หมดหวัง และเกิดความกลัว ไม่กล้าทำาอะไรหรือออกไปไหน จนกลายเป็นคนที่สูญเสีย สมรรถภาพ ตกอยู่ในภาวะที่ต้องพึ่งพิงผู้อื่น ทักษะการทำาความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและ การเคลอื่นไหว หรอื Orientation and Mobility (O&M) เปน็ ทักษะที่คิดค้นและพัฒนาโดยคนตาบอดและคนที่ทำางาน กับคนตาบอด
การล้มเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการบาดเจ็บและ การเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลของผู้สูงวัย และคิดเป็นร้อยละ 20-40 ของสาเหตุการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลในกลุ่มคนที่ มีอายุ 65 ปีขึ้นไป คนกลุ่มนี้ล้มอย่างน้อย 1 ครั้งต่อปี ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการล้มในผู้สูงวัยส่วนมาก ไม่รุนแรง อย่างไรก็ตาม พบว่าร้อยละ 20-30 ของการล้มเป็น สาเหตุการบาดเจ็บที่รุนแรง เช่น กระดูกหัก หรือการบาดเจ็บ ของศีรษะและสมอง และยังส่งผลต่อเนื่องทำ ให้เกิดความ บกพร่องด้านการทรงตัวและการเคลื่อนไหว ซึ่งทำ ให้ระดับการ ทำ กิจกรรมและความสามารถในการใช้ชีวิตโดยไม่ต้องพึ่งพา ผู้อื่นลดลง อีกทั้งยังเสียความมั่นใจในการเดินหรือทำ กิจกรรม เนื่องจากกลัวล้ม
ประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ผลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ 4 ครั้งที่ผ่านมาระบุ ว่าประเทศไทยมีจำนวนและสัดส่วนของผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง โดยในปี 2537 จำนวนผู้สูงอายุคิดเป็นร้อยละ 6.8 ของประชากรทั้งประเทศ และเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 9.4 ร้อยละ 10.7 และร้อยละ 12.2 ในปี 2545, 2550, 2554 ตามลำดับ
สังคมไทยในอดีตให้ความเคารพและยกย่อง “ผู้สูงอายุ” ด้วยเห็นว่าผู้สูงอายุเป็นผูทรงความรู้ ความสามารถผา่นร้อนผ่านหนาวมาเป็นเวลานาน มีประสบการณ์ที่ดีมีคุณค่าที่ถ่ายทอดไปสู่คนรุ่นหลงั เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไรก็ตาม การเข้าสู่ยุคโลกาภิวัฒน์ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ สังคม อีกทั้งการพัฒนาวิทยาการและเทคโนโลยทีี่เกิดข้ึนอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ทา ให้เกิดคา ถามข้ึนในใจหลายๆ คนว่าคนไทยในยุคโลกาภิวตั น์ที่เติบโตมาในบริบทของสังคมไทย ยงัคงให้คุณค่าผูสู้งอายุ เหมือนในอดีตที่ผ่านมาหรือไม่โดยเฉพาะผูท้ี่เติบโตมาพร้อมๆ กบัการเปลี่ยนแปลง ในสังคมที่การให้ คุณค่ากบั สิ่งต่างๆ เริ่มเปลี่ยนไป การเปลี่ยนแปลงที่เกิดข้ึนย่อมส่งผลกระทบต่อความคิดและความเชื่อ ของคนในสังคมที่มีต่อผสูู้งอายุไม่มากก็นอ้ย
อิสระภาพในการใช้ชีวิตด้วยตนเอง การเผชิญหน้ากับสภาวะพังทลายผลักเราเข้าไป สู่ที่ที่ไม่มีใครนึกถึง
จากความสําเร็จของนโยบายวางแผนครอบครัวที่เน้นการคุมกําเนิด (ตั้งแต่ปีพ.ศ. ๒๕๑๓) เป็นประการสําคัญที่ส่งผลให้ประเทศไทยมีอัตราการเกิดลดลงอย่างต่อเนื่องบวกกับความก้าวหน้าทางการ แพทย์และสาธารณสุขที่ทําให้คนไทยมีอายุยืนยาวขึ้น จนส่งผลให้โครงสร้างประชากรในปัจจุบันและในอนาคต ข้างหน้าอีกหลายสิบปีประเทศไทยจะตกอยู่ในสถานการณ์ที่มีผู้สูงอายุในสัดส่วนที่สูงมาก เด็กเกิดใหม่น้อย โดยเฉพาะพ่อแม่ที่พร้อมกับไม่มีลูกหรือมีลูกน้อย ส่วนพ่อแม่วัยรุ่นที่ไม่พร้อมกลับมีลูกโดยไม่ได้ตั้งใจ และ ประเทศไทยจะประสบภาวะถดถอยด้านประชากรวัยแรงงาน ซึ่งจะส่งผลกระทบไปทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และบริการสุขภาพ
จากแนวคิดที่ว่า “ทำอย่างไรให้ผู้ป่วยที่มีแผลกดทับที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้สามารถขยับตัวได้โดยไม่เจ็บ" เพราะลูกโป่งสามารถรองรบนัาหนักตัวของผู้ปู้วยได้ขึ้นอยู่กับนั้าหนักของแต่ละคนไม่เท่ากัน
คำวา “นวัตกรรม” มีความหมายที่หลากหลาย และหลากหลายมุมมอง สำหรับ ‘เรา’ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสรางเสริมสุขภาพ (สสส.) การไดรวมสนับสนุนภาคีเครือขายในการดำเนินการดานการสรางเสริมสุขภาพ และสรางวัฒนธรรมใหมของการสรางเสริมสุขภาพ ผานการพัฒนาองคความรู วิเคราะหภาคีและสนับสนุนโครงการยุทธศาสตรเพื่อการขับเคลื่อนและรวม ผลักดันนโยบายและการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสราง ถือวาเปนการรวมสราง ใหเกิดนวัตกรรมดานการสรางเสริมสุขภาพในหลากหลายรูปแบบ
การดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุเป็นเรื่อง สำคัญ เพราะปากและฟันที่สะอาดจะช่วยให้ผู้สูงอายุ รู้สึกสบาย ไม่เจ็บปวด ไม่มีกลิ่นปาก กินอาหารได้ตาม ปกติ ลดความเสี่ยงที่จะติดเชื้อ โดยเฉพาะปัญหาปอด ติดเชื้อจากการสำลัก (aspiration pneumonia) ซึ่งอาจ เป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้ มีผลสรุปจากงานวิจัยที่พบว่า หากทำความสะอาดช่องปากดีขึ้น อาจลดอัตราการ เสียชีวิตจากภาวะปอดอักเสบของผู้สูงอายุในบ้านพัก คนชราได้ 1 ใน 10 ดังนั้นการดูแลช่องปากอย่างดี จะช่วยให้ผู้สูงอายุใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข และส่งผลดีต่อสุขภาพโดยรวมอีกด้วย
“การจัดสิ่งอํานวยความสะดวกใหเหมาะสมกับผู้สูงอายุ” เป็นเป้าหมายของแผนงานสําคัญ ของ มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ซึ่งได้ดําเนินโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการดูแลผู้สูงอายุใน 3 จังหวัด ประกอบด้วยจังหวัด สิงห์บุรีนครราชสีมาและปทุมธานีโดยร่วมกับภาคีในพื้นที่ประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชมรมผู้สูงอายุและหน่วยบริการสุขภาพ ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ "โครงการแผนงาน พัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุระดับท้องถิ่น" เพื่อขับเคลื่อนแผนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ระดับท้องถิ่นให้ครอบคลุม 5 ประเด็น โดยเฉพาะในประเด็นที่ 4 ในเรื่องการจัดปรับอาคาร สถานที่และ สภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุเพื่อให้ผู้สูงอายุใช้ชีวิตในบั้นปลายได้อย่างมีคุณค่า เกิดระบบการ ดูแลผู้สูงอายุที่ยั่งยืน
ภาวะซึมเศร้า (depression) เป็นภาวะที่พบบ่อย ในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงหรือพิการ ซึ่งประสบความยากลำบากในการเข้ารับบริการสาธารณสุข บุคคลกลุ่มนี้จะมีโอกาสเกิดภาวะซึมเศร้าได้สูงกว่าผู้สูงอายุ ทั่วไป ภาวะซึมเศร้านั้นมีโอกาสพัฒนาไปเป็น “โรคซึมเศร้า” ได้ในอนาคต นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงที่จะนำไปสู่การทำร้าย ตนเอง ซึ่งผู้ดูแลจำต้องตระหนักถึงภาวะอันตรายดังกล่าว
การจัดทำโครงการโรงเรียนปลอดบุหรี่ ในจังหวัดสงขลา
การจัดการระบบสุขภาพอำเภอ เพื่อดูแลกลุ่มประชากร :กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มโรคเรื้อรัง
การรวบรวมการนำเสนอ 3กลุ่มประชากร คือ กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และกลุ่มคนพิการ ซึ่งเป็นประเด็นทางสาธารณสุขที่ประเทศไทยกำลังเผชิญ และให้ความสนใจในการจัดการระบบให้มีความจำเพาะ สอดคล้องมากขึ้น
ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัย ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญที่ชุมชน หน่วยงาน และองค์กร ต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจ เพื่อปลูกฝังความเอาใจใส่ต่อผู้สูงวัยในหลากหลายด้าน อาทิ ด้านสุขภาพร่างกาย ด้านจิตใจ โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้ต่างๆ และเครื่องมือในการช่วยให้ผู้สูงอายุเกิดกระบวนการพัฒนาศักยภาพตนเองได้อย่างต่อเนื่องและสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างราบรื่นและมีความสุข
ในปัจจุบันการเลี้ยงดูแลเด็กเล็กเป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก โดยเฉพาะการพัฒนาสมอง Executive Functions (EF) ทั้ง 3 ด้าน เพื่อเป็นการปลูกฝังให้เด็ก “คิดเป็น ทำเป็น เรียนรู้เป็น แก้ปัญหาเป็น อยู่กับคนอื่นเป็น และมีความสุขเป็น” ดังนั้น ครอบครัว โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จึงต้องมีความพร้อมทั้งด้านความรู้ ความเข้าใจการพัฒนาสมอง หรือ EF ในเด็ก เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการส่งเสริมพัฒนาการที่ดีในอนาคตให้เด็กได้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างรอบด้าน
“นวัตกรรม” ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ที่ได้ ดำเนินการร่วมกับภาคีเครือข่าย คือนวัตกรรมเพื่อดำเนินการด้านสร้างเสริมสุขภาพ ในหลากหลายรูปแบบทั้งชิ้นงาน กระบวนการทำงาน กลไก และองค์ความรู้
โดยมี องค์ประกอบ 3 ประการคือ เป็นสิ่งใหม่ ใช้แก้ไขปัญหา และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง นอกจาก 3 องค์ประกอบของนวัตกรรมแล้ว ยังได้นำกระบวนการที่ก่อให้เกิดนวัตกรรมทางสังคมที่เป็นลักษณะของโมเดลก้นหอย (Spiral Model) มาอธิบายถึงการเกิดนวัตกรรมเป็นวิธีการพัฒนาแบบหมุนรอบตามขั้นตอนที่ทำให้เกิด ความรู้ ประสบการณ์ใหม่แบบไม่รู้จบ เป็นวงจรหมุนเวียนที่หมุนเป็นเกลียวก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยผลงานนวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพที่ได้รวบรวมภายในเล่มนี้ นอกจากแสดงให้เห็นถึงขั้นตอนของกระบวนการนวัตกรรมแล้วยังทำให้เห็นถึงความพยายามที่ไม่รู้จบของภาคีเครือข่ายในการสร้างสังคมเพื่อสุขภาวะ
การพัฒนาเด็กอย่างเป็นองค์รวมทั้งความสามารถในการเคลื่อนไหว และสุขภาวะทางกาย พัฒนาการด้านสังคม ด้านอารมณ์ ด้านการคิด และสติปัญญา ด้านภาษา ด้านจริยธรรม และด้านการสร้างสรรค์ของเด็กเป็นสิ่งที่บงบอกถึง สมรรถนะของเด็กปฐมวัยของท่าน โดย พ่อ แม่ ผู้ปกครอง ครู อาจารย์และผู้ดูแลเด็ก จึงต้องจัดกระบวนการ เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีสมรรถนะตามวัยอย่างสอดคล้องกับธรรมชาติของเด็กในวัยนี้ ได้อย่างเหมาะสม
เมืองเหล่านี้จะพัฒนาไปสู่ความยั่งยืนได้อย่างไรในแนวทางของตัวเอง โดยที่คนในเมืองยังคงมีความอยู่ดีกินดีและทรัพยากรของเมืองไม่สูญไปตามกาลเวลา ดังนั้น เราจึงหยิบเมืองบางแห่งมาเป็นกรณีศึกษาในการวิเคราะห์แนวทางพัฒนาและแก้ปัญหาไปสู่ความมีสุขภาวะ ซึ่งสามารถแบ่งการพัฒนาเมืองออกได้เป็น “การพัฒนาเมืองที่นาโดยท้องถิ่น” กับ “การพัฒนาเมืองที่นาโดยภาคประชาสังคม”
การออกกำลังกายมีประโยชน์ต่อพัฒนาการต่างๆ ของเด็กทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ และพัฒนาการทางสมอง ซึ่งพ่อแม่ควรปลูกฝังให้เด็กสนใจการออกกำลังกายตั้งแต่ยังเล็ก เพื่อเป็นรากฐานให้เขาใส่ใจการออกกำลังกายในวันข้างหน้า
10 เคล็ดลับการเดินทางอย่างปลอดภัยด้วยรถตู้
อยากเป็นโรงเรียนที่กระฉับกระเฉง (Active School) ควรจัดสรรพื้นที่เวลาและอุปกรณ์ต่างๆ ตามนี้เลยค่า
10 วิธีที่โรงเรียนทำได้ เพื่อให้เด็กขยันออกมาเล่น
10 เหตุผลที่ประเทศไทยจำเป็นต้องออกกฎหมายบุหรี่ฉบับใหม่
การพัฒนากิจกรรมทางกายในพื้นที่สาธารณะ เป็นการวิจัยเพื่อสรรสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อกิจกรรมทางกาย โดยใช้กรณีศึกษาสวนหลวงราชินี (19 ไร่) อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคิริขันธ์ เกิดจากการรวมองค์ความรู้ 2 แนวคิดหลักที่ล้วนสำคัญต่อการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ได้แก่ การส่งเสริมสุขภาพและภูมิสถาปัตยกรรม
7 มาตรการสู่ รร.ปลอดบุหรี่
บางกระเจ้า สุดยอดโอเอซิลกลางเมือง!
บ้านหลังนี้ สำหรับทุกคน
ครูแนะแนวภาคปฏิบัติ : ประสบการณ์จริงที่มากกว่าทฤษฎี
แผนที่เสี่ยงภัยสำหรับการเผาในที่โล่งจากข้อมูลเชิงพื้นที่หลายแหล่งของจังหวัดเชียงราย
ปีสุขภาวะที่สูญเสียไปจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง NCD พ -สุขภาวะสังคม
การสื่อสารอย่างสันติในครอบครัว
จากข้อมูลสุขภาพในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาวัยรุ่นไทยมีแนวโน้มตั้งครรภ์และคลอดสูงขึ้น โดยเฉพาะในวัยรุ่นกลุ่มอายุ 15-17 ปี แม่วัยรุ่นกลุ่มนี้จะต้องออกจากโรงเรียนกลางคันต้องประกอบอาชีพทั้งๆ ที่ยังเรียนไม่จบ และยังไม่พร้อมที่จะเลี้ยงดูบุตร สาเหตุของการตั้งครรภ์ไม่พร้อมนั้นมีหลากหลาย ส่วนมากเกิดจากการขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ป้องกัน การถูกละเมิดทางเพศ การใช้วิธีคุมกำเนิดไม่ถูกต้อง และปัญหาการเข้าถึงบริการคุมกำเนิด จนทำให้เกิดปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อม ก่อให้เกิดผลกระทบทางด้านสังคมและจิตใจตามมา การให้การปรึกษาเป็นการบริการที่ดี จึงได้จัดทำคู่มือฉบับนี้ขึ้นได้นำไปใช้ประโยชน์ต่อไป
คู่มือเครือข่ายครอบครัวสร้างสุข เล่มนี้นำเสนอหลักคิดในการชีวิตครอบครัว ว่าอย่างน้อยสุดหากทุกบ้าน “หยุด 4 ทุกข์ และสร้าง 4 สุข” สุขภาพของครอบครัวน่าจะแข็งแรงขึ้น และยังมีเครื่องมือเล็กๆ น้อยๆ ต่างๆ ที่อาจหยิบมาใช้ในชีวิตประจำวันของครอบครัวได้ตามความเหมาะสมของแต่ละบ้านได้อีกด้วย
คู่มือแม่ทำงานเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
ดอนแก้ว รวมกัน เราอยู่ : Healthy Planet สุขคดีท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้
ประชาชนจัดการตนเอง 5กรณีศึกษาจากภาคสนาม
แม่ทา ป่าสร้างชีวิต
สรุปองค์ความรู้การขับเคลื่อนโครงการ สุขภาวะจังหวัดราชบุรี
หนองแวง : Healthy Planet สุขคดีท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้
สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า ได้รับการสนับสนุนจาก สสส.ให้เป็นองค์กรประสานโครงการรณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษาตั้งแต่ปี 2546 จนปัจจุบัน พบข้อมูลกลุ่มคนงดดื่ม-งดการดื่มมีแนวโน้มที่ดีขึ้น โดยชุมชนมีส่วนร่วมการที่ชุมชน/คนรอบข้างทำกิจกรรมเชิญชวนผู้มางดเหล้ามีประโยชน์มากกับผู้ที่ตั้งใจงดเหล้า ช่วยให้ผลสัมฤทธิ์ดีขึ้น ทั้งด้านการลดการบริโภค ประหยัดค่าใช้จ่าย สุขภาพ และการทำงาน
ทศวรรษศูนย์วิจัยปัญหาสุรา : สถานะความรู้เพื่อการควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
การถอดบทเรียน สังเคราะห์ความรู้โครงการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) ซึ่งภายใต้ชุดโครงการนี้มีโครงการวิจัยย่อยอยู่ 47 โครงการจาก 12 จังหวัด 4 ภูมิภาค เป้าหมายหลักของโครงการ คือ การพัฒนา อสม. ให้เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอนามัยคนในชุมชน โดยใช้ประเด็นเหล้า-บุหรี่เป็นประเด็นในการดำเนินงาน ความร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจของภาคีเครือข่ายทั้งในและนอกพื้นที่ปฏิบัติการทั้ง 47 แห่ง ที่เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา หาทางออกร่วมกัน จนสานเป็นความงดงามของเพื่อนร่วมทางทั้งภาครัฐเอกชน ประชาชน ที่บูรณาการการทำงานร่วมกัน เพื่อช่วยกันอภิบาลระบบสุขภาพที่ไม่ใช่หน้าที่ของใครคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นหน้าที่ของพวกเราทุกคน
อาหารสด ทั้งผักผลไม้และเนื้อสัตว์ที่สีสันดูสดใหม่น่ารับประทาน แต่อาจแอบแฝงภัยที่ไม่ควรชะล่าใจ ซึ่งก็คือ สารเคมีตกค้างในอาหาร ที่เกิดขึ้นได้ตั้งแต่การเพาะปลูก เก็บเกี่ยว ขนส่ง สามารถติดมากับดิน น้ำ สิ่งแวดล้อม นอกจากนี้อาจมีสารที่เติมลงไปเพิ่มเติม ทั้งยาฆ่าแมลง ย่าฆ่าเชื้อรา รวมถึงสารปรุงแต่ง อาทิ สารเร่งเนื้อแดงในเนื้อหมู สารกันราหรือกรดซาลิซิลิค สารบอแรกซ์ และอีกมากมายที่หากร่างกายได้รับอย่างต่อเนื่องในปริมาณหนึ่งอาจอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต เพราะฉะนั้นถ้าจึงควรรู้จักระวังและป้องกันสารพิษตกค้างในอาหาร
การปลูกผักไม่จำเป็นต้องมีสวนมีไร่ถึงจะปลูกได้ แค่มี ‘ใจ’ กับพื้นที่เล็กๆ เช่น ระเบียงคอนโดมิเนียมหรืออพาร์ต เมนท์ พื้นที่ดาดฟ้า หรือพื้นที่เอาต์ดอร์เล็กๆ ของบ้านเดี่ยวหรือทาวน์เฮาส์ก็ปลูกผักกินเองได้แล้ว ทำได้อย่างไรมาเรียนรู้กัน
การกินผัก ผลไม้ให้ได้วันละอย่างน้อย 400 กรัมไม่ใช่เรื่องยาก ถ้า 1 วัน เราจัดอาหารให้เหมาะสมในแต่ละมื้อ
factsheet อัตราการสวมหมวกนิรภัยในประเทศไทย ปี 2557-อุบัติเหตุ
สิทธิในถนนปลอดภัย
อย่าเสี่ยงกับความเร็ว
ตัวแบบการทำงานระดับองค์กรของ สสส.
การนิยามความสุขของแต่ละคนแตกต่างกันออกไปตามแนวคิดของตัวเอง ซึ่งความสุขตามแนวคิดของโปรเชนและฌอน มี 2 อย่าง คือ ความสุขภายนอก เช่น การมีบ้าน รถ เงิน ทอง สิ่งของต่างๆ รวมถึงสุขภาพร่างกายด้วย และความสุขภายใน ที่อยู่ภายใต้ความรู้สึกนึกคิดของเราเอง
Baby Sign คือ การสื่อสาร โดยใช้ภาษาทางกายหรือภาษามือ ซึ่งพ่อแม่สามารถสอนให้กับลูกๆ ก่อนถึงวัยหัดพูด เพื่อที่จะได้รู้ถึงความต้องการลูก โดยไม่ต้องเดาว่าลูกต้องการอะไร และยังช่วยในการพัฒนาการสื่อสาร การเพิ่มพูนคำศัพท์ กระตุ้นการเรียนรู้และส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัว
ชีวิตที่ติดล็อค คือการอยู่ในสถานการณ์ชีวิตที่ไม่ชอบ แต่ไม่สามารถเดินไปข้างหน้าหรือถอยหลังกลับได้ หรือหาทางออกไม่ได้ จึงทำให้หลายคนประสบปัญหานี้อยู่และไม่รู้จะหาทางแก้ไขอย่างไร
จากสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วตามความเจริญของเทคโนโลยี มีบทบาทต่อการใช้ชีวิตอย่างมาก โดยเฉพาะคนทำงานที่เป็นบุคคลสำคัญและเป็นกำลังหลักต่อครอบครัว องค์กร ชุมชน และสังคม การสร้างความสุขในที่ทำงานจึงเป็นสิ่งสำคัญในการบริหารองค์กร
การเลือกกินอาหารมีส่วนช่วยให้ห่างไกล หรือเป็นการลดอัตราความเสี่ยงการเกิดโรคได้ ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีการรณรงค์ให้กินผักวันละ 400 กรัม หากเทียบเป็น 1 จานข้าว ก็จะเป็นครึ่งหนึ่งของจานข้าว และการกินผักยังมีประโยชน์หลากหลายด้านมากมายที่ส่งผลต่อสุขภาพที่ดีขึ้นอีกด้วย
พนักงาน ถือได้ว่าเป็นบุคคลที่เป็นกำลังหลักของหน่วยงาน หรือองค์กรต่างๆ ซึ่งหากพนักงานมีสุขภาพที่ไม่ดี ย่อมส่งผลต่อการพัฒนาองค์กรได้ ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ (สสส.) เล็งเห็นถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพ จึงมีองค์ความรู้ดีๆ ในการกินผักผลไม้ เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดโรคต่างๆ ด้วยเทคนิคที่สามารถลงมือทำได้ทันที :)
วิธีลดปัญหาขยะล้นเมือง ไม่ได้มีแค่ Recycle หรือ Reuse เท่านั้น แต่ยังมีถึง 7 Re ด้วยกันเลยนะคะ!!
ซึ่งแต่ละ Re จะมีอะไรบ้าง Infographic ดีๆ ชิ้นนี้ จะช่วยทำให้เราเข้าใจเกี่ยวกับภาพรวมต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้นค่ะ
เพราะการออกกำลังกายเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็ก ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ และการพัฒนาสมอง ที่ผู้ดูแลเด็ก สามารถสอดแทรกเป็นสื่อการสอนให้เด็กๆ ได้ขยับร่างกาย โดยศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ (สสส.) มีองค์ความรู้ดีๆ ที่ผู้ดูแลเด็กสามารถนำไปปรับใช้สื่อสารให้เด็กเข้าใจถึงประโยชน์จากการออกกำลังกาย เพื่อสร้างสุขภาพแข็งแรงในวันข้างหน้าได้นะคะ
การปลูกผักสวนครัวปลอดภัยจากสารเคมีไว้บริโภค เป็นสิ่งที่คนเมืองในยุคปัจจุบันต่างนิยมหันมาปลูกเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตให้มีสุขภาวะที่ดี โดยศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ (สสส.) อยากชวนคนเมืองมาเพิ่มพื้นที่เกษตรสีเขียวด้วยเทคนิคง่ายๆ กันค่ะ
การเขียนบันทึกในแต่ละวันไม่เพียงช่วยฝึกให้เด็กรู้จักทบทวนเรื่องราวที่เกิดขึ้นเท่านั้น เพราะการเขียนบันทึกเป็นเครื่องมือสำคัญในการเพิ่มทักษะให้เด็กๆ ได้ เทคนิคนี้สามารถใช้ได้ทั้งครอบครัวและศูนย์เด็กเล็กได้เลยนะคะ
หากองค์กรของคุณไม่อยากเป็นแชมป์ที่มีพนักงานอ้วนลงพุงแล้วละก็ มาปลุกพลังคนในองค์กรให้หันมาใส่ใจสุขภาพด้วยองค์ความรู้ที่ ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ เตรียมมาให้กันค่ะ กับ 4 เทคนิคง่ายๆ ที่ทำได้จริง โดยอาจลดเวลาทำงาน 1 ชั่วโมง เพื่อให้พนักงานได้ออกกำลังกาย และเพิ่มความรู้เรื่องโภชนาการที่ดีที่สมวัยมากขึ้น หรือจัดข้อระเบียบเพื่อปลูกฝังเรื่องสุขภาพ ซึ่งจะเป็นการช่วยกระตุ้นให้ทุกคนเกิดพลังที่จะหันมาใส่ใจสุขภาพง่ายๆ ด้วยตนเอง เพียงเท่านี้องค์กรของคุณก็จะมีพนักงานสุขภาพแข็งแรงเพิ่มขึ้นเลยล่ะคะ
เพราะการนอนไม่ใช่เรื่องเล็กๆ ที่เพียงแค่ล้มตัวลงนอนแล้วหลับไปเท่านั้น แต่เป็นช่วงที่สมองได้พัก ทำการเรียบเรียงข้อมูล จัดหมวดหมู่ ทำให้สมองเกิดการจดจำและมีพัฒนาการ ดังนั้น เราจึงต้องให้ความสำคัญกับการนอนให้ดีพอ และพอดีมากยิ่งขึ้น เพื่อจะได้เพิ่มศักยภาพให้สมองและร่างกาย ตื่นเช้ามาอย่างสดชื่น พร้อมลุยงานได้ตลอดทั้งวัน ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ (สสส.) มีประโยชน์จากการนอนอย่างไรให้พอดีมาฝาก เพื่อที่ทุกท่านจะได้นำไปดูแลตัวเอง หรือดูแลคนในครอบครัวได้อย่างเหมาะสมค่ะ
รู้หรือไม่คะว่า ผู้ที่ป่วยเป็น "โรคซึมเศร้า" ไม่ใช่คนอ่อนแอ หรือยอมแพ้ต่อชีวิต แต่เป็นความผิดปกติทางจิตที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งโรคซึมเศร้าไม่ได้หายด้วยการให้ปล่อยวาง แต่ผู้ที่ป่วยจะหายได้นั้น ต้องเกิดจากการที่ผู้ดูแล หรือคนรอบข้างเข้าใจและยอมรับความเจ็บป่วยของเขาได้นะคะ
ดังนั้น ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ จึงมีองค์ความรู้มาแนะนำ เพื่อเป็นแนวทางป้องกันและสร้างความเข้าใจนำไปปรับใช้ในการดูแลผู้สูงอายุในชุมชนอย่างใกล้ชิดให้ห่างไกลภาวะซึมเศร้ากันค่ะ :)
เคยสังเกตตัวเอง หรือเพื่อนร่วมงานกันไหมคะว่า มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เปลี่ยนไป ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย จึงส่งผลให้มีน้ำหนักที่เพิ่มมากขึ้น และยังเกิดโรคต่างๆ จนทำให้การดำเนินชีวิตในประจำวัน การทำงานประสิทธิภาพลดลง
ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ จึงชวนพนักงานในองค์กรมากินอาหารเพื่อควบคุมน้ำหนัก กับสูตรเด็ด 2 : 1 : 1 พิชิตสุขภาพให้ดียิ่งขึ้น กับวิธีแบ่งจานอาหารออกเป็น 4 ส่วนง่ายๆ
ภาวะเครียดเป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้ทุกคน บางคนรู้ตัวว่ากำลังเครียด แต่บางคนไม่รู้ตัวจนส่งผลต่อสุขภาพจิตและทำให้เกิดการเจ็บป่วยต่อร่างกายขึ้นได้ ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ มีวิธีรับมือจากความเครียดง่ายๆ ที่คุณสามารถทำได้ด้วยตัวเองและยังสามารถนำองค์ความรู้นำไปปรับใช้ภายในองค์กรได้อีกด้วย
ในแต่ละปีคนไทยเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนจำนวนมาก ยิ่งช่วงเทศกาลสด้วยแล้ว ตัวเลขบนท้องถนนยิ่งสูงขึ้น เพราะเกิดจากความประมาท ขาดวินัยในการเคารพกฎจราจรในการขับขี่
ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ มีองค์ความรู้ที่ทุกชุมชนสามารถร่วม สร้าง “ด่านชุมชน” สกัดกลุ่มเสี่ยงออกจากหมู่บ้าน อาทิ เมาแล้วขับ ไม่สวมหมวกกันน็อค เพื่อสร้างมาตรการทางสังคม และชุมชนให้เกิดวัฒนธรรมความปลอดภัยในการดำเนินชีวิตได้ด้วยนะคะ
คนในชุมชนของท่านเป็นแบบนี้หรือเปล่าค่ะ มีอารมณ์ร้อนมากขึ้นและมักใช้อารมณ์ในการตัดสินใจจนเกิดเหตุทะเลาะวิวาท ทำร้ายร่างกาย ซึ่งเหตุผลที่คนไทยหัวร้อนเกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่มี 3 ปัจจัยหลัก เช่น เกิดจากความเครียด ถูกกดดัน ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นชนวนที่ทำให้คนในชุมชนขาดสติจนเกิดความเดือดร้อนทั้งต่อตัวเองและผู้อื่น
ดังนั้น ผู้นำควรหาวิธีเพื่อกระตุ้นคนในสังคมได้ตระหนักถึงการอยู่ร่วมกันก็จะเป็นการสร้างชุมชนให้น่าอยู่ได้ด้วยนะคะ
องค์กรที่ดีสร้างสุขด้วยสติง่ายๆ ต้องรู้จักสร้าง “ทีมงาน” เพื่อเป็นต้นแบบในการพัฒนาพนักงาน ซึ่งเป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อนองค์กรให้ก้าวหน้าและสู่ความสำเร็จ ให้มีคุณภาพชีวิตทั้งทางกายและจิตใจดีขึ้น โดยสามารถนำองค์ความรู้ง่ายๆ อย่าง “รักดี 4 ลด” ซึ่งเป็นมีวิธีพื้นฐานที่จะช่วยสร้างพนักงานให้ใช้สติ เพื่อทำกิจกรรมได้สำเร็จ จะมีวิธีไหนบ้างมาดูกันเลยค่ะ
เคยสำรวจในชุมชนของท่านไหมค่ะว่า มีการพนันเหล่านี้หรือไม่ ?
ทั้งพนันฟุตบอล เล่นไพ่ และเล่นหวย ซึ่งล้วนเป็นการพนันที่เสี่ยงให้เกิดความสูญเสียมากมาย และจะมีผลกระทบต่อชีวิต ครอบครัว และสังคม อย่างไรบ้าง มาติดตามองค์ความรู้กันได้เลยนะคะ
“โรคอ้วน” กำลังเป็นปัญหาของประชากรไทยในปัจจุบัน สิ่งที่น่ากังวลก็คือ “โรคอ้วน” เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของการเกิดโรคต่างๆ ตามมา อาทิ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด โดยปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้เกิดภาวะน้ำหนักเกิน หรือ “โรคอ้วน”นั้น ก็คือ อาหารและอุปนิสัยในการบริโภคที่ไม่เหมาะสม และรูปแบบการใช้ชีวิตของคนปัจจุบันที่ชอบอยู่นิ่งๆ มากขึ้น ขาดกิจกรรมทางกาย จึงมีความจำเป็นที่ต้องรีบแก้ไขวิกฤติ “โรคอ้วน” ซึ่งมีแนวโน้มที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยรวม
ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สสส. จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำสร้างเสริมสุขภาวะ “ลดพุง ลดโรค” ขึ้น เพื่ออบรม ให้องค์ความรู้ พัฒนาทักษะด้านการส่งเสริมสุขภาวะในประเด็น ลดพุง ลดโรค แก่กลุ่มเป้าหมายที่เป็นแกนนำ ซึ่งนำไปสู่การขยายผลแก่เยาวชนและประชาชนทั่วไป ในทุกภูมิภาคของประเทศไทย
กิน เดิน เที่ยว เรียนรู้ ตะลุยย่านนางเลิ้ง
มาร่วมเรียนรู้ที่จะเป็นเกษตรมือใหม่ปลูกผักในแบบคนเมือง ที่ทุกคนสามารถลงมือทำได้เลย เพียงแค่เปลี่ยนพื้นที่เล็กๆ ให้กลายเป็นพื้นที่สีเขียว ที่มีประโยชน์มากมาย ไม่ว่าจะนำผักที่ปลูกไปปรุงเป็นอาหารเพื่อเสริมสุขภาพร่างกาย หรือนำไปขายเพื่อสร้างกำไร แถมยังลดรายจ่าย และไม่เสี่ยงเป็นโรคที่เกิดจากสารพิษตกข้างในผักได้อีกด้วย ซึ่งองค์ความรู้ดีๆ ที่ทุกท่านสามารถนำความรู้ไปปรับใช้สร้างพื้นที่สีเขียวในแบบของคุณได้ง่ายๆ อย่ารอช้า ดาวน์โหลดองค์ความรู้ นานาวิธีปลูกผักแบบคนเมือง เครื่องมือของเกษตรกรมือใหม่ที่ใส่ใจสุขภาพกันนะคะ :)
จะปลูกผักทั้งที ต้องรู้เรื่องอะไรบ้าง ? มาร่วมเรียนรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของพืชผักแต่ละชนิด สรรพคุณต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ เพื่อสามารถนำผักที่ปลูกไปปรุงอาหารได้อย่างถูกวิธี เสริมสร้างคุณค่าทางอาหารที่ถูกหลักและอร่อย และยังสร้างความรู้เรื่องผักด้วยการทำป้ายเพื่อสื่อถึงประโยชน์ได้ด้วยนะคะ สำหรับใครที่กำลังจะลงมือปลูกผัก ลองมาดูความรู้เกี่ยวกับพืชผักแต่ละชนิดกันค่ะว่า มีสรรพคุณ ประโยชน์อย่างไร อย่ารอบช้า ดาวน์โหลดความรู้กันเลย
ชุมชนของท่านเคยเจอปัญหาเหล่านี้หรือไม่ ? ผู้สูงวัยอยู่บ้านเพียงลำพังถูกขโมยเงินสด หรือถูกหลอกให้ซื้อสินค้าในราคาถูก สุดท้ายเสียเงินนับหมื่น ดังนั้น ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ มีองค์ความรู้ที่ผู้นำชุมชนสามารถนำไปกระตุ้นให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงภัยใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม ด้วยการรวมพลังจากคนในชุมชน รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะมีกระบวนการเรียนรู้ให้นำไปปรับใช้อย่างไรกันบ้างมาดูกันเลยค่ะ :)
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ถือเป็นสิ่งเสพติดที่ไม่เพียงแต่ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพเท่านั้น แต่ยังล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาต่างๆ เช่น อุบัติเหตุทางท้อนถนน การทะเลาะวิวาท ที่ส่งผลเสียทั้งต่อตัวเอง ครอบครัว และคนในชุมชนที่อยู่ร่วมกันด้วยนะคะ
ดังนั้น การลด ละ เลิกต้องมีจุดเริ่มต้น และเข้าพรรษาที่ใกล้จะถึงนี้ ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ ขอเชิญชวนผู้นำชุมชนร่วมสร้างกำลังใจ กระตุ้นคนในชุมชนให้เกิดการผลักดัน "ผู้ที่อยากเลิกเหล้า" ใช้วันเข้าพรรษานี้เป็นวันเริ่มต้นงดเหล้าให้ครบพรรษา เพื่อสร้างโอกาสให้งดเหล้าได้ตลอดชีวิต
“บ้านเกิดของตนเองยังมีอะไรอีกหลายอย่างที่ต้องพัฒนาและปรับปรุง” ปณิธานของ “พีรวัศ คิดกล้า” ผู้ใหญ่บ้าน บ้านสำโรง ตำบลท่าสว่าง อ.เมือง จ.สุรินทร์ ผู้มองเห็นถึงปัญหาของคนในชุมชน เช่น คนเมาทะเลาะ ยาเสพติด เด็กแว้น ขยะสกปรก ฯลฯ ก่อเกิดเป็นพลังแห่งการพัฒนาชุมชนให้น่าอยู่ ด้วยหลักแนวคิด ปัญหาสร้างโอกาส สร้างชุมชนให้น่าอยู่และเข้มแข็งได้
การเลี้ยงไก่ไข่เป็นเรื่องที่คนเมืองสามารถทำได้ แม้พื้นที่ไม่มากก็สามารถเลี้ยง ซึ่งศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ มีองค์ความรู้ดีๆ ที่ขอเชิญชวนคนเมืองมาเลี้ยงไก่ไข่ เพื่อสร้างสุขภาพที่ดีและยังสามารถหลีกเลี่ยงสารตกค้างต่างๆ จากการบวนการเลี้ยงได้อีกด้วยนะคะ จะมีอะไรบ้างมาดูกันเลย
การกินอาหารให้ถูกสัดส่วน คือ การกินอาหารให้ได้สารอาหารครบถ้วนทุกประเภทในปริมาณที่เพียงพอที่จะทำให้พลังงานและทำให้ร่างกายเจริญเติบโตได้ วันนี้ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ มีองค์ความรู้มาแนะนำให้หน่วยงาน หรือองคืกร สามารถนำไปสอดแทรกเพื่อสร้างชุมชนสุขภาพดีได้ด้วยการเลือกกินอย่างถูกวิธี จะมีอะไรบ้างมาดูกันเลยค่ะ
อย่างที่ทราบกันดีว่า สมุนไพรไทยนั้นนอกจากจะมีประโยชน์ต่อสุขภาพแล้ว สมุนไพรบางชนิดยังสามารถนำมาใช้ในการไล่แมลงและกำจัดเพลี้ยหนอนที่มากัดกินทำลายพืชผักของเราได้อีกด้วยนะ โดยศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ มีองค์ความรู้ที่อยากจะเชิญชวนนักปลูกผักรุ่นใหม่และผู้ที่กำลังมีแปลงผักเป็นของตัวเอง มาลองลงมือทำกันโดยใช้สมุนไพรใกล้ตัว ปรับใช้ในแปลงผักของชุมชน หรือของตัวเอง จะมีวิธีการอย่างไรบ้างมาดูกันเลยค่ะ
ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ ขอเชิญชวนทุกท่านมาร่วมสัมผัสความสุขจากความพอเพียงผ่านการท่องเที่ยววิถีชุมชน ที่ "ชุมชนบ้านบางพลับ" ด้วยสองล้อคู่ใจที่ไม่เพียงแต่จะเพิ่มสุขภาพใจ กายที่ดีแข็งแรงแล้ว แต่ยังได้รับความรู้ วัฒนธรรมของชุมชนแห่งนี้อีกด้วยนะคะ โดยหน่วยงาน หรือองค์กร ยังสาสามารถนำกิจกรรมนี้ไปปรับใช้ในชุมชนของท่าน เพื่อสร้างให้คนในชุมชนได้ลองเลือกเดินทางไปยังแหล่งเรียนรู้ใกล้บ้าน เพื่อเปิดประสบการณ์การท่องเที่ยวแบบใหม่ที่ไม่เพียงได้รับความผ่อนคลาย สนุกสนาน แต่ยังเป็นการสร้างสุขภาวะที่ดีได้อีกด้วยค่ะ
กิน กอด เล่น เล่า ทำงานบ้าน :
ทักษะเพื่อพัฒนา EF ทางรอดของเด็กไทยสู่ศตวรรษที่ 21
ปัจจุบันการเลี้ยงดูลูกเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะโลกเปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็นสังคม ครอบครัว หรือเทคโนโลยี พ่อแม่ยุคใหม่จึงต้องมีความรู้พื้นฐานในการเลี้ยงดูลูกน้อย พร้อมทั้งต้องมีความพร้อมทั้งทางร่างกาย สุขภาพจิตที่ดี มีทักษะในการสังเกตพฤติกรรมของลูกเมื่อเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ไม่ดี
ปัจจุบันประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมสูงวัย หลายๆ ชุมชนมีผู้สูงวัยอาศัยอยู่ที่บ้านเพียงลำพัง หรืออาศัยร่วมกับเด็กเล็ก เพราะวัยกลางคนซึ่งเป็นเสาหลักของครอบครัวต้องออกจากบ้านเพื่อหาเงินเลี้ยงดู จึงเป็นไปได้ว่า ไม่มีเวลาเอาใจใส่ในเรื่องการดูแลได้อย่างเต็มที่ จึงทำให้เกิดปัญหาต่างๆ เช่น ผู้สูงวัยเป็นโรคเรื้อรัง เกิดความเครียด เป็นโรคซึมเศร้า สิ่งเหล่านี้ไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อตัวเองเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบในด้านต่างๆ ของครอบครัว ชุมชนอีกด้วยด้วยนะคะ
เพราะเรื่องสุขภาพของผู้สูงวัยในชุมชนเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ดูแลต้องให้ความสำคัญในการเอาใจใส่ ดูแล เช่นเดียวกับ โรงพยาบาลธวัชบุรี จ.ร้อยเอ็ด ที่เห็นถึงปัญหาสุขภาพของผู้สูงวัย ไม่ว่าจะเป็นโรคเบาหวาน โรคไต ล้วนเป็นโรคเรื้อรังที่มีสาเหตุจากการกินอาหารไม่ถูกหลักโภชนาการที่ดี ปัญหาเหล่านี้จึงทำให้เกิดการสร้างเครือข่ายดูแลสุขภาพผู้สูงวัยในชุมชน โดยมีกระบวนการสร้างเครือข่ายอย่างไรมาดูกันเลยค่ะ
รู้หรือไม่คะว่า การเดินไม่เพียงช่วยสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง แต่ยังช่วยลดโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง ได้อีกด้วย โดยการเดินเป็นการออกกำลังกายที่ง่ายและสามารถทำได้ทันที เพื่อสร้างสุขภาพที่ดีให้คนในชุมชนได้ด้วยค่ะ
ชุมชนต่างๆ สามารถร่วมรณรงค์ลดการก่อขยะได้ โดยการค้นหาแกนนำ สร้างความตระหนักความเข้าใจในการจัดการขยะ พร้อมมีมาตรการสนับสนุน ตามตัวอย่างดังนี้ได้เลยนะคะ ;)
การคัดแยกขยะตั้งแต่ระดับครัวเรือนมีผลสำคัญต่อการจัดการขยะในระดับชุมชนนะคะ โดยสามารถทำให้ขยะ 2 ตันที่ต้องใช้เวลากำจัดถึง 20 วัน ลดเหลือเพียง 4 วันได้เลยทีเดียว!!
การคัดแยกขยะช่วยได้ขนาดนี้เชียวเหรอ!? ไม่พูดเยอะ ให้คลิปนี้อธิบายดีกว่าค่ะ ^^
หนังสือเล่มนี้...รวมทุกเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการจัดการขยะในชุมชน!!
ขึ้นชื่อว่าเป็นขยะอันตราย ย่อมต้องอันตรายสมชื่อแน่นอนค่ะ แล้วเราควรทิ้งและจัดการอย่างไร อ่านต่อได้ที่นี่เลยนะคะ
ปิดเทอมนี้ อย่าปล่อยให้น้องๆ หนู ๆ เอาแต่นั่งนอนดูทีวี หรือเล่นแท็ปเลตอยู่เฉยๆ แต่ให้ลองชวนพวกเค้าออกมาเล่น เพิ่มความแข็งแรงให้ร่างกายและเพิ่มพลังสมองกันดีกว่าค่ะ ซึ่งกิจกรรมตัวอย่างที่ สสส. นำมาฝาก รับรองว่าไม่ยาก และไม่ต้องพึ่งอุปกรณ์ใดๆ เล่นด้วยกันได้ทั้งครอบครัวแน่นอน ^^
แม้จะพยายามให้ข้อมูลเกี่ยวกับโทษของ ‘บุหรี่’ แก่น้องๆ วัยรุ่นและเยาวชนไปมากมาย สุดท้าย ก็ยังมีน้องๆ วัยรุ่นบางส่วนยังเลือกที่จะลองสูบกันอยู่ดี..ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น??
คลิปนี้อาจให้คำตอบคุณได้ค่ะ
เพราะการนวดกดจุดที่เท้าอย่างถูกวิธี จะช่วยสมองหลั่งสารเคมีแห่งความสุขออกมา เหมือนกับการทำงานของนิโคติน ดังนั้น จึงช่วยแก้อาการลงแดงสำหรับคนที่ตั้งใจเลิกบุหรี่ได้เป็นอย่างดีค่ะ
ชุมชนปลอดเหล้า ไม่ใช่แค่ความฝัน เราสามารถสร้างได้ เพียงริเริ่มสร้างสิ่งเหล่านี้ค่ะ
เพื่อให้ชุมชนก้าวสู่สังคมปลอดบุหรี่ได้สำเร็จ ควรทำอย่างไรบ้าง? สสส.มีเทคนิคดีๆ มาฝากค่ะ ^^
สำหรับหน่วยงานที่ต้องการจัดงานวิ่งบนท้องถนนต่างๆ องค์ความรู้ที่ขาดไม่ได้เลยคือ องค์ความรู้เกี่ยวกับการกู้ชีพฉุกเฉินนั่นเองค่ะ
ทำไมช่วงนี้ ใครๆก็ให้พึงระวังไขมันทรานส์กันเอาไว้ นั่นเป็นเพราะว่าไขมันชนิดนี้ ถ้าทานมากเกินกว่า 4% ของพลังงานทั้งหมด จะทำให้เหลือแต่คอเรสเตอรอลชนิดไม่ดี ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของโรคร้ายต่างๆนั่นเองค่ะ
ถ้าของว่างยามบ่ายประจำบริษัทของคุณ คือ คุ้กกี้ เค้ก เบเกอรี่ หรือโดนัทล่ะก็ สสส.ขอให้ระวังไว้ให้ดี เพราะของกินแสนอร่อยเหล่านี้ คือแหล่งรวมของ 'ไขมันทรานส์' ไขมันตัวร้ายที่ได้ชื่อว่า 'ไขมันที่อันตรายต่อร่างกายที่สุด' นะคะ
นั่งนาน อันตราย ชวนกันขยับ ยืดเหยียด ผ่อนคลายความเครียด ป้องกันออฟฟิศซินโครมและโรคติดต่อเรื้อรัง
ทราบไหมคะที่สสส. นั้น บันไดเป็นมากกว่าบันได! เพราะที่นี่ เราออกแบบมาเป็น Universal
เศษอาหารที่เป็นแหล่งที่มาของกลิ่น และแมลงวัน จะกำจัดปัญหานี้ไปได้อย่างไร? ไอเดีย 'ถังกรีนโคน' จากบ้านโพธนาราม ต.สันทราย อ.แม่จัน จ.เชียงราย จะมาช่วยเปลี่ยนขยะเศษอาหารและทำให้ได้ปุ๋ยหมักไปพร้อมๆ กันค่ะ
แผ่นพับเรื่อง "โรคเบาหวาน" เป็นส่วนหนึ่งของชุดแผ่นพับ "เรื่องน่ารู้ สุขสมวัย" ภายใต้ชุดความรู้ "สุขสมวัย" ซึ่งเป็นเครื่องมือสนับสนุนการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุให้มีคุณภาพ
ชุมชนต่างๆ สามารถรณรงค์ให้คนในพื้นที่ ลอยกระทงด้วยหลักการเหล่านี้ เพื่อลดปริมาณขยะ และยังคงสืบสานประเพณีที่ดีงามไว้ได้ต่อไปค
อ้วนลงพุง เกิดจากการมีไขมันสะสมในช่องท้องปริมาณมาก ยิ่งมีรอบพุงมากเท่าไหร่ไขมันยิ่งสะสมในช่องท้องมากเท่านั้น
เครื่องดื่มสุดฮิต ที่มนุษย์ออฟฟิศชอบดื่ม ต้องชดใช้ค่าเสียหายเท่าไร? จึงจะเบิร์นไปได้หมด มาดูไปพร้อมๆ กันกับสสส.นะคะ
ทางเลือกในการเลิกบุหรี่ โดยใช้วิธีธรรมชาติ ไม่ต้องพึ่งยา ราคาไม่แพง พบได้ที่คู่มือเล่มนี้ค่ะ
วิกฤติเชื้อดื้อยา ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ และกำลังเป็นวาระสำคัญของทุกประเทศ อีกทั้งองค์การอนามัยโลกยังกำหนดให้เดือนพฤศจิกายนของทุกปี มีสัปดาห์ตระหนักรู้เรื่องดื้อยาอีกด้วยค่ะ
โรงเรียน หรือสถานศึกษา สามารถมีระบบจัดการรถรับส่งนักเรียนอย่างไร เพื่อลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับรถรับส่งนักเรียนได้บ้าง?? อ่านต่อได้ที่นี่ค่า
ชุมชนมีส่วนช่วยลด และตัดห่วงโซ่ของอุบัติเหตุบนท้องถนนได้อย่างไร?? ให้คลิป ‘การอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดการความปลอดภัยทางถนนของชุมชน โดยชุมชน’ ช่วยชุมชนของคุณสิคะ
หลอดพลาสติกที่ใช้เสร็จแล้ว ทิ้งไปก็ย่อยสลายยากนะคะ สสส.แนะนำให้คุณมาลดขยะ ลดโลกร้อนด้วยการนำหลอดเหล่านั้นมาทำเป็นหมอนกันดีกว่า รับรองว่าไม่ยาก และสามารถส่งต่อเป็นของใช้ให้ผู้ป่วยติดเตียงได้ด้วยค่ะ ^^
งานเลี้ยงไหนๆ คนไทยก็เลี้ยงเหล้า จนคนไทยครองแชมป์นักดื่มอันดับ 3 ของเอเชีย...แบบนี้ไม่ดีแน่นะคะ
ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยได้รับเสียงชื่นชม และมีผลงานดีๆ ในด้านสุขภาพอย่างไรบ้าง?? มาร่วมภูมิใจและยินดีไปพร้อมๆ กันได้ที่นี่เลยค่า
ปีใหม่นี้ มาช่วยกันทำให้ถนนชุมชนเราปลอดภัยยิ่งขึ้น ด้วยการมาค้นหาจุดเสี่ยงบนท้องถนนในชุมชนของเรากันนะคะ โดยจะมีวิธีชี้เป้า และจัดการจุดเสี่ยงนั้นอย่างไรบ้าง? สสส.มีคำแนะนำจากผศ.วิชุดา เสถียรนาม อ.ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.ขอนแก่นมาฝากกันค่ะ
เมื่อสิ้นปีทีไร ก็ถึงเวลาที่เราจะเริ่มลิสต์เป้าหมายชีวิตในปีหน้ากันแล้วใช่ไหมล่ะคะ? จะทำอย่างไรให้เป้าหมายที่เราตั้งไว้ประสบผลสำเร็จ สสส.มี Infographic น่ารักๆ ที่จะช่วยแนะนำเคล็ดลับดีๆ นี้ให้แล้วค่า คลิกเล๊ยยย.....
คู่มือการเพิ่มความรู้ทักษะสำหรับพนักงานขนส่งสาธารณะในการสอดส่องป้องกัน และจัดการกับปัญหาการคุกคามทางเพศในระบบขนส่งสาธารณะให้แก่ผู้ใช้บริการเพื่อให้เกิดความสะดวก และปลอดภัยในทุกๆที่ของผู้โดยสาร
อีกไม่ถึงเดือนก็จะสิ้นปีแล้ว หากอยากให้บรรยากาศในที่ทำงานดีงามยิ่งขึ้นในปีหน้า สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ความสัมพันธ์ระหว่างหัวหน้า ลูกน้อง และเพื่อนร่วมงาน ทำงานด้วยกันได้อย่างแฮปปี้ขึ้นค่ะ มาดูกันเลย!!
ช่วงปีใหม่ที่มีแต่ความรื่นเริงชื่นมื่นนี้ ไม่อยากให้มี 7 วันอันตรายเพราะอุบัติเหตุบนท้องถนน เราหลีกเลี่ยงได้ ด้วยการลดพฤติกรรมเสี่ยงเหล่านี้ค่ะ
ทำไม การการขับรถเร็วจึงทำให้เสี่ยงให้เกิดอุบัติเหตุได้โดยง่าย สสส.ขอแนะนำให้คุณมาทำความรู้จักกับ ‘ทฤษฎีวิสัยทัศน์อุโมงค์’ รับรองว่าจะเห็นภาพมากขึ้นอย่างแน่นอนค่ะ
ถ้าอยากให้เด็กเก่ง โรงเรียนควรมีมาตรการชวนเด็กๆ ออกมาเล่นเยอะๆ ค่ะ เพราะเคยมีผลวิจัยจากโครงการ Physical Activity Across the Curriculum (PAAC) เผยออกมาว่า โรงเรียนที่เพิ่มกิจกรรมทางกาย นักเรียนจะมีผลการสอบที่ดีกว่าโรงเรียน ที่ไม่เพิ่มกิจกรรมทางกายถึง 60%
สสส.มีเคล็ดลับฝึกลูกให้เป็นเด็กดีมาฝากค่ะ โดยเคล็ดลับนี้อ้างอิงมาจากหลักการ EF หรือ Executive Functions ซึ่งเป็นการฝึกฝนให้เด็กๆ คิดเป็น ทำเป็น เรียนรู้เป็น แก้ไขปัญหาเป็น อยู่ร่วมกับผู้อื่นเป็น และหาความสุขเป็น นั่นเองค่ะ
เริ่มต้นปีใหม่ทั้งที มาตรวจเช็กสุขภาพเบื้องต้นกันดีกว่าค่ะ โดยแต่ละวัย ควรตรวจอะไรบ้าง? สสส.รวบรวม infographic ดีๆ ที่จะช่วยชี้ชัดตรงจุดนี้ไว้ที่นี่แล้วค่ะ คลิกเลย!!
อยากเป็นโรงเรียนที่กระฉับกระเฉง ต้องจัดสรรพื้นที่ เวลา และอุปกรณ์ต่างๆ อย่างไรบ้าง? พบคำตอบได้จากสื่อ Infographic นี้ได้เลยค่า
การเรียนรู้จากชุดนิทรรศการยืม-คืน ส่งเสริมการพัฒนาทักษะชีวิตประเด็น "บุหรี่และยาสูบ" เป็นการจำลองให้เห็นผลกระทบที่เกิดขึ้นกับร่างกาย และกระตุ้นให้คิดและตัดสินใจในสถานการณ์ต่างๆ ผ่านสื่อการเรียนรู้ที่เน้นแบบเปิดและการสนทนาแบบทันที
เมื่อวันที่ 9 ม.ค. 62 ที่ผ่านมา ได้มีประกาศจากกระทรวงสาธารณสุข ห้ามผลิต ห้ามนำเข้า จำหน่าย น้ำมันหรืออาหารที่มีไขมันทรานส์สังเคราะห์ มีผลบังคับใช้ทั่วประเทศ
ทำไมต้องออกกฎหมายบังคับใช้ให้อุตสาหกรรมอาหารต่าง ๆ ยุติกระบวนการสร้างไขมันประเภทนี้? สสส.มีคำตอบมาฝากค่ะ
สัปดาห์ที่แล้ว กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศให้ห้ามผลิต ห้ามนำเข้า จำหน่าย น้ำมันหรืออาหารที่มีไขมันทรานส์ ที่เกิดจากกระบวนการอุตสาหกรรมอาหารอย่างเป็นทางการ ซึ่งผู้ประกอบการ ต้องมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการตรวจสอบผลิตภัณฑ์อาหารของตนอย่างไรบ้าง? สสส.สรุปไว้ที่นี่แล้วค่า
โรงเรียนควรใช้หลักการใดในการจัดอาหารกลางวันให้เด็กๆ เพื่อให้พวกเขาได้รับสารอาหารครบถ้วน ร่างกายสมส่วน ห่างไกลจากโรคอ้วนในเด็ก สสส.มี infographic ดีๆ ที่จะช่วยแนะนำข้อมูลตรงจุดนี้ให้คุณครูแล้วค่า ดาวน์โหลดฟรีได้ที่นี่เลย
รอบตัวเราในทุกๆ วันไม่เว้นแม้แต่ในบ้านอาจแฝงมลภาวะอากาศที่เรามองแทบไม่เห็น เช่น ฝุ่นละอองหรือไรฝุ่น รวมถึง การใช้ชีวิตนอกบ้านที่ต้องคลุกคลีในย่านถิ่นซึ่งเผชิญกับควันท่อไอเสีย ยานพาหนะ หรือหมอกควันที่เกิดจากการเผาไหม้ขยะ การเผาไหม้เชื้อเพลิงในโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งเจ้าฝุ่นเล็กๆ โดยเฉพาะฝุ่นในหมอกควันสามารถสร้างโรคภัยทางเดินหายใจขั้นร้ายแรงได้ เราจึงไม่ควรมองข้ามการดูแลสุขภาพและร่วมด้วยช่วยกันลดมลภาวะทางอากาศเหล่านี้
ชุดความความของผู้เชียวชาญ ในด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินเพื่อให้สังคมตระหนักถึงการกินแบบไม่รู้เท่าทันโรคต่างๆ มีเนื้อหาที่มุ่งเน้นให้เกิดความเข้าใจที่สามารถนไปนำใช้ได้จริง และนำไปดูแลสุขภาพของตนเองได้
นับวัน วิกฤติโรค NCDs จะยิ่งลุกลามและทวีความรุนแรงมากขึ้น รุนแรงแค่ไหน? สสส.ขอให้ดูตัวเลขสถิติการเสียชีวิตของคนไทยที่เกิดจากกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเหล่านี้เลยค่ะ
แต่ข้อดีของโรคเหล่านี้คือ เป็นโรคที่สามารถหลีกหนี และป้องกันได้ มารู้เท่าทันกลุ่มโรค NCDs ไปด้วยกันกับสสส. แค่ดาวน์โหลดคู่มือกลุ่มโรค NCDs ที่นี่ค่ะ
ทำไมสสส.จึงร่วมมือกับศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) สนับสนุนและพัฒนาเมืองให้มีเส้นทางเดินเท้าที่ปลอดภัยและมีชีวิตชีวา พบคำตอบได้ที่นี่ค่ะ
การคุยเรื่องเพศในครอบครัวไม่มีหลักสูตรตายตัว อีกทั้งไม่ยากอย่างที่คิด ขอเพียงเข้าใจและเห็นความสำคัญ เพื่อนำไปปรับใช้กับเด็กในแต่ละวัย เพื่อสุขภาวะทางเพศที่ดีของลูกหลานในวันนี้และอนาคต
การสนับสนุนให้ “ผู้นำการเปลี่ยนแปลง” สามารถสร้างชุมชนสุขภาวะทางเพศที่ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดการปัญหาของตนเองได้อย่างแท้จริง โดยปัจจุบันมีการดำเนินงานพื้นที่ต้นแบบสร้างเสริมสุขภาวะทางเพศในชุมชนทั่วประเทศ จำนวน 10 พื้นที่ และมีภาคีผู้นำการเปลี่ยนแปลงจำนวน 1,257 คนทั่วประเทศ
ทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นองค์การบริการส่วนท้องถิ่น สถาบันการศึกษา เครือข่ายด้านสาธารณสุข และสถาบันครอบครัว ต่างก็มีบทบาทสำคัญที่จะช่วยเสริมสร้าง ‘พื้นที่เรียนรู้เรื่องเพศเชิงบวก’ ให้เกิดขึ้นในชุมชนของเราขึ้นมา โดยแต่ละฝ่ายควรมีเทคนิคเพื่อผลักดันจุดนี้อย่างไรบ้าง? สสส.ได้ทำเป็นคลิป Infomotion แบบเข้าใจง่ายไว้ที่นี่แล้วค่า รับชมกันได้เลย ^^
สสส.ได้ใช้แนวคิด 3 เหลี่ยมเขยื้อนภูเขาในการจุดประกาย กระตุ้น สาน และเสริมพลังให้คนในชุมชนและองค์กรต่างๆช่วยกันวางแผนส่งเสริมให้เกิดสุขภาวะทางเพศอย่างไรบ้าง? พบคำตอบได้ที่นี่ค่ะ ^^
ความสำคัญอย่างหนึ่งที่ส่งผลให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงก็คือ การบริโภคอาหารรสเค็ม มีโซเดียมสูง ที่มาจากการปรุงเครื่องปรุงรส หรือการเติมในระหว่างการประกอบอาหาร รวมถึงผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป/กึ่งสำเร็จรูป และขนมขบเคี้ยวต่างๆ ซึ่งทำให้เราบริโภคเกลือสูงถึง 2 เท่า ของปริมาณที่ควรจะได้รับต่อวัน การพัฒนาเมนูอาหารลดเค็มหรือลดโซเดียมนี้มีประโยชน์ต่อสุขภาพผู้บริโภค จึงเป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญอย่างยิ่ง
การลดปริมาณโซเดียมในประชากรให้ได้ 30% ใน 5 ปีข้างหน้า ถือเป็นภารกิจสำคัญที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศให้เป็นภารกิจหนึ่งในสามอันดับแรกที่คุ้มต่อการลงทุน เพื่อลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จะเห็นว่าการรณรงค์ลดการทานโซเดียมของประชาชนเป็นวาระสำคัญของโลกมากๆ และปัจจุบันที่ต่างประเทศมีมาตรการในการลดโซเดียมอย่างไรบ้าง? เรามาดูตัวอย่างดีๆที่สสส.หยิบยกมาฝากกันนะคะ
ในปี 2560 ของโรงพยาบาลพะเยา พบว่า คนไข้ 3 อันดับโรคที่เข้ารับบริการ ได้แก่ ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคไตเรื้อรังระยะ 5 ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบผู้ป่วยที่มีภาวะไขมันในเลือดสูงจำนวนมาก ทำให้โรงพยาบาลต้องเร่งหาทางป้องกันและแก้ไข เพื่อให้ประชากรในพื้นที่มีสุขภาวะที่ดีขึ้น โดยมีมาตรการดีๆ ดังนี้เลยค่า
จากสถิติพบว่าคนไทยได้รับโซเดียมมากกว่าปริมาณที่ร่างกายต้องการต่อวันถึง 1 เท่าตัว. จึงไม่น่าแปลกใจ ที่ปัจจุบันพบว่า คนไทยป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงถึง 10 ล้านคน และเป็นโรคไตถึง 7 ล้านคน แต่นอกจากโรคความดัน โรคหลอดเลือดสมองและโรคไตเรื้อรังแล้ว พฤติกรรมการทานโซเดียมที่มากเกินไปยังทำให้เกิดโรค 3 โรคนี้อีกด้วยนะคะ
พฤติกรรมไม่ดี รู้แต่จะทำ พฤติกรรมดีๆ รู้แต่ไม่ทำ พฤติกรรมของคนเราสามารถออกแบบ ได้จริงหรือ? มาร่วมหาคำตอบได้จาก Nudge Theory กันได้เลย
“การให้โอกาส” และ “เสริมพลัง” สามารถนำไปสู่ “การพัฒนาที่ยั่งยืน” ได้หรือไม่ อย่างไร? ไปหาคำตอบจากบทความนี้ได้เลยค่ะ
ทักษะสมองส่วน "Executive Functions" หรือ “EF" คืออะไร? ช่วยพัฒนาทักษะด้านสมองในวัยเด็กได้จริงหรือไม่ อย่างไร? หาคำตอบได้จากบทความนี้เลยค่ะ
เพราะในแต่ละช่วงวัย สภาพร่างกายและจิตใจไม่เหมือนกัน แล้วเราจะดูแลร่างกายและจิตใจอย่างไรเพื่อให้มีสุขภาพดีในทุกช่วงวัย ?
มาทำความรู้จักกับ “นวัตกรรม สสส.” นวัตกรรมทางสังคมที่ช่วยให้คนไทยมีสุขภาวะที่ดีทั้งด้านร่างกาย จิต ปัญญา สังคม
โรงเรียนผู้สูงอายุที่มีประสิทธิภาพควรเป็นอย่างไร จึงจะสามารถพัฒนาผู้สูงอายุให้มีศักยภาพ (Active Ageing) ได้อย่างแท้จริง
ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นในประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แล้วเราจะป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นได้อย่างไร บทความนี้มีคำตอบ
การตลาดเพื่อสังคม เช่น แคมเปญให้เหล้าเท่ากับแช่ง จน เครียด กินเหล้า ฯลฯ สร้างการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพได้อย่างไร และทำอย่างไรจึงจะประสบผลสำเร็จ? หาคำตอบได้จากบทความนี้เลยค่ะ
ในวันที่ 15 มีนาคมของทุกปี คือ วันสิทธิผู้บริโภคสากล หรือ World Consumer Rights Day โดยมีขึ้น เพื่อกระตุ้นเตือนให้ผู้บริโภคตระหนักถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของตนเอง รวมทั้งส่งเสริมให้มีการเคารพและปกป้องสิทธิของผู้บริโภคทุกคนอย่างทั่วถึงทั้งโลกค่ะ . แล้วสิทธิผู้บริโภคไทยมีอะไรบ้าง? ร่วมสำรวจสิทธิของตนเองได้ที่นี่เลยค่ะ
ในโรงเรียน หรือชุมชน ควรมีพื้นที่สร้างสรรค์ สำหรับสร้างประสบการณ์ และสร้างโอกาสให้เด็กๆ ได้เติบโต พัฒนาตามวัยอย่างไร? พบคำตอบได้จาก Infographic ‘พื้นที่สร้างสรรค์’ นี้ค่ะ
ระหว่างปิดเทอมนี้ สสส.อยากขอเชิญชวนคุณครูมาคิดกิจกรรมแบบจิตศึกษา เพื่อใช้สานความสัมพันธ์เชิงบวกกับนักเรียนกันค่ะ แล้วจิตศึกษาคืออะไร? อ่านต่อได้ที่นี่ค่า
เยาวชนแต่ละช่วงวัย มีความสนใจ และเหมาะกับกิจกรรมปิดเทอมสร้างสรรค์อะไรบ้าง? วันนี้สสส.มีแนวทางดีๆ มาฝากคุณครูและผู้ปกครอง ดังนี้เลยค่า
องค์กร หรือหน่วยงานที่มีโรงอาหารเป็นสวัสดิการให้พนักงาน เราสามารถเพิ่ม ปรับ เปลี่ยนโรงอาหาร เพื่อเสริมสร้างสุขภาพที่ดีให้กับพนักงานได้ดังนี้ค่ะ
ชมรมผู้สูงอายุ ถือเป็นองค์กรภาคประชาชนที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาระบบงานผู้สูงอายุ ก่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุทั้งในระดับปัจเจกบุคคลและระดับชุมชน มาเรียนรู้พื้นที่ต้นแบบในการดำเนินงานที่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้สูงวัย
มีหลักฐานชัดเจนว่า การบริโภคโซเดียมที่มากเกินไป จะเพิ่มระดับความดันโลหิต เสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจและหลอดเลือด ทั้งยังทำให้เกิดโรคไต กระดูกเปราะ และมะเร็งกระเพาะอาหารอีกด้วย เพื่อตอบสนองต่อปัญหาประชากรในสังคมที่กำลังถูกคุกคามอย่างหนักจากโซเดียม นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ ประธานเครือข่ายลดการบริโภคเค็ม จึงได้นำเสนอมาตรการลดบริโภคโซเดียมไว้ ซึ่งสอดคล้องกับแนวกลยุทธ์ที่องค์การอนามัยโลกแนะนำ ดังนี้ค่ะ
มุ่งเน้นแนวทางออกแบบกิจกรรมต่างๆ เพื่อก้าวไปสู่การเป็น “องค์กรลดพุงลดโรค” ประกอบด้วย 9 ขั้นตอน ซึ่งเหมาะสำหรับส่วนงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ฝ่ายทรัพยากรบุคคลฝ่าย CSR ฯลฯ ในการช่วยส่งเสริมสุขภาพที่ดีของพนักงานเพื่อเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้เกิดประสิทธิภาพในด้านการผลิต การลดค่าใช้จ่ายในด้านการรักษาพยาบาล การลดจำนวนวันลาป่วย และผลประกอบการที่ดีขึ้น
ช่วงหยุดยาวสงกรานต์นี้ หากมีแผนต้องเดินทางเป็นหมู่คณะ และจำเป็นต้องใช้บริการรถเช่า หรือรถโดยสารสาธารณะจากผู้ประกอบการต่าง ๆ สสส. อยากให้ยึดหลัก 3 วิธีเลือก 3 วิธีปฏิบัตินี้ เพื่อลดความเสี่ยงอุบัติเหตุจากการเดินทางค่ะ
องค์กร สถานประกอบการ หรือบริษัทเป็นสถาบันสำคัญที่จะมีส่วนช่วยรณรงค์ให้ประชาชน หรือพนักงานร่วมตระหนักถึงคุณค่าในความปลอดภัยบนท้องถนนด้วยการสวมหมวกนิรภัย เพราะหากเกิดการสูญเสียของพนักงาน ก็อาจนำมาซึ่งความสูญเสียต่อรายได้ของสถานประกอบการหรือบริษัทด้วย
เมื่อพบว่านักเรียนมีภาวะน้ำหนักเกินสูงเกือบ 14% แต่เด็กๆ ก็ยังชอบทานขนมเป็นชีวิตจิตใจ เมื่อเล็งเห็นปัญหาในจุดนี้ คุณครูในโรงเรียนวัดพระนอนหนองผึ้ง จ.เชียงใหม่จึงเกิดปิ๊งไอเดียขนมที่ทำจาก ‘แป้งมะละกอ’ ขึ้นมาค่ะ แล้วแป้งนี้ช่วยแก้ปัญหาภาวะอ้วนในเด็กได้อย่างไรบ้าง? ตามมาดูกับสสส.ได้เลยค่ะ
คู่มือป้องกันการล้มในผู้สูงวัยเล่มนี้ขึ้นเพื่อให้ความรู้แก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และผู้ดูแลผู้สูงวัยที่บ้านและชุมชน พร้อมทั้งให้ความรู้เบื้องต้นเรื่องการจัดการความเสี่ยงในการล้ม รวมถึงการออกกำลังกายที่เหมาะสมเพื่อพัฒนาความสามารถในการทรงตัว เพื่อป้องกันการล้มในระยะยาว ซึ่งคณะผู้จัดทำได้กลั่นกรององค์ความรู้และประสบการณ์ในการดูแลรักษาฟื้นฟู ในการจัดทำคู่มือเล่มนี้ โดยมุ่งเน้นให้อ่านและทำความเข้าใจได้ง่าย และเน้นการนำไปใช้อย่างปลอดภัยเป็นสำคัญ
ภาวะความบกพร่องทางการเห็นหรือพิการทางการเห็นเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ โดยมีสาเหตุจากการเปลี่ยนแปลงหรือความเสื่อมที่เกิดขึ้นตามวัยหรือจากโรคภัยไข้เจ็บ เนื่องจาก “ตาและการมองเห็น” เป็นประสาทสัมผัสหลักที่ใช้ในการดำเนินชีวิต เมื่ออวัยวะนี้เสื่อมสภาพลงจนเกิดภาวะตาพร่ามัวกระทั่งมองไม่เห็น(ที่เรียกว่าตาเลือนรางหรือตาบอด) ย่อมทำให้เกิดความตระหนก ซึมเศร้า ท้อแท้หมดหวัง และเกิดความกลัวไม่กล้าทำอะไรหรือออกไปไหน จนกลายเป็นคนที่สูญเสียสมรรถภาพ ตกอยู่ในภาวะที่ต้องพึ่งพิงผู้อื่นทักษะการทำความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหว หรือ Orientation and Mobility (O&M) เป็นทักษะที่คิดค้นและพัฒนาโดยคนตาบอดและคนที่ทำงานกับคนตาบอด เพื่อให้คนตาบอดสามารถเดินทางไปไหนมาไหนและทำกิจกรรมต่างๆ ได้ด้วยตนเอง ไม่ต้องพึ่งพาผู้อื่น
หนังสือเล่มนี้จึงจัดทำขึ้นเพื่อรวบรวมข้อมูล จัดการและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีชุมชนที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงสภาพแวดล้อมสำาหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงหรือพิการ และได้รวบรวมผลงานประกวดการปรับปรุงสภาพแวดล้อมด้วยเทคโนโลยีชุมชนเอาไว้ ผลงานเหล่านี้ผ่านการใช้งานจริงมาแล้ว อย่างไรก็ตาม แต่ละผลงานมีความเป็นปัจเจก ระยะ สัดส่วน รวมถึงขนาดขององค์ประกอบต่างๆ ในผลงานอาจเหมาะสมเฉพาะบุคคล ทั้งนี้ หากมีการนำาผลงานไปพัฒนาต่อ ควรมีการประยุกต์ให้เหมาะสมกับผู้ที่ใช้งานและบริบทของท้องถิ่นหรือชุมชน
สุขภาพช่องปากอาจเป็นเรื่องเล็กในความคิดของใครหลายคน แต่แท้จริงแล้วเรื่องเล็กๆ นี้ส่งผลต่อการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุเป็นอย่างมาก จึงเป็นเรื่องสำคัญยิ่งที่ผู้ดูแลจะต้องศึกษาวิธีดูแลช่องปากในผู้สูงอายุอย่างถูกต้องและเหมาะสม หนังสือคู่มือการดูแลผู้สูงวัยชุด “ช่องปากสุขี” ได้รวบรวมข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับการดูแลช่องปากเพื่อให้ผู้สูงอายุได้มีช่องปากสุขี โดยครอบคลุมหัวข้อต่างๆ ดังนี้ วิธีแปรงฟันและทำความสะอาดช่องปากที่ถูกต้อง วิธีดูแลช่องปากในกรณีที่ผู้สูงอายุดูแลช่องปากตัวเองไม่ได้ อุปกรณ์สำหรับการดูแลปากและฟัน การทำความสะอาดฟันเทียม ปัญหาช่องปากที่พบบ่อยเช่นปากแห้ง กลิ่นปาก กลืนลำบาก
ภาวะซึมเศร้าเป็นปัญหาใหญ่ในผู้สูงอายุที่หลายๆ คนมองข้าม เพราะไม่ใช่โรคภัยที่แสดงอาการอย่างชัดเจน แต่แท้จริงแล้วภาวะนี้หากปล่อยไว้จะกัดกร่อนจิตใจและนำไปสู่ “โรคซึมเศร้า” ซึ่งกระทบต่อความสุขในชีวิต และยังอาจส่งผลกระทบต่อคนรอบข้างอีกด้วย “สูตรคลายซึมเศร้า” เล่มนั้นได้รวบรวมเนื้อหาสำคัญอันจะเป็นประโยชน์ต่อทั้งผู้สูงวัยและผู้ดูแล เพื่อป้องกันไม่ให้คนที่ท่านรักตกอยู่ในภาวะซึมเศร้าโดยครอบคลุมหัวข้อต่างๆ ดังนี้ ภาวะซึมเศร้าคืออะไร ภาวะซึมเศร้าต่างจากภาวะเศร้าปรกติอย่างไร แบบวัดความเศร้าในผู้สูงอายุ วิธีปฏิบัติเมื่อผู้สูงวัยมีภาวะซึมเศร้า อาหารที่ส่งผลต่ออารมณ์ กิจกรรมป้องกันภาวะซึมเศร้า
เมื่อเจ้าหน้าส่งเสริมสุขภาพในโรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์ มีภาวะ ‘อ้วนลงพุง’ จนเริ่มทยอยป่วย และเกิดปัญหาขาดลาเพิ่มขึ้น ทางผู้บริหารมีวิธีจัดการกับปัญหานี้เช่นไร?
พบแนวทางดีๆ ในการการแก้ปัญหาภาวะน้ำหนักเกินในพนักงานของรพ.แห่งนี้ ได้ที่นี่เลยค่า
คุณกำลังมีอาการเหล่านี้หรือเปล่า มือขา ปวดมือ ข้อนิ้วเคล็ด นิ่วเหยียดไม่สุด จนนำไปสู่โรงทางมือ พบกับเคล็ดลับการดูแลและป้องกันโรคฮิตในหมู่วัยทำงานไปจนถึงวัยชรา
สุขภาพของผู้สูงอายุเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงเป็นพิเศษ เพราะเป็นวัยที่การทำงานของอวัยวะต่างๆ เริ่มถดถอย สสส.จึงขอแนะนำและสนับสนุนให้บริโภคอาหารในแต่ละมื้อ โดยใช้หลัก 2:1:1 ผัก 2 ข้าว-แป้ง 1 ส่วน เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน 1 ส่วน พร้อมเทคนิคเพิ่มเติมดังนี้เลยค่า
การจะส่งเสริมพัฒนาการเด็กให้ดีและสมวัยนั้นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญมากคือการเลี้ยงดูแม้การเลี้ยงดูเด็กให้เติบโตอย่างมีคุณภาพจะเป็นภารกิจที่ยิ่งใหญ่ของคนเป็นพ่อแม่ทุกคนแต่ภารกิจนี้ก็ไม่ยากเกินเพราะต้นทุนที่ทุกครอบครัวมีได้ไม่แพ้กันเลยก็คือความรักความเอาใจใส่และให้ความสำคัญกับการส่งเสริมพัฒนาการที่ดีให้กับลูกซึ่งคุณพ่อคุณแม่ทุกคนสามารถทำได้โดยเริ่มต้นจากสิ่งเล็กๆรอบตัวเรานี่เอง
แต่ละช่วงวัย เด็ก ๆ ควรมีพัฒนาการในด้านต่างๆ อย่างไรบ้าง? โปสเตอร์นี้จะช่วยให้คุณครูและผู้ปกครองสามารถตรวจเช็กพัฒนาการเด็ก พร้อมเรียนรู้แนวทางการส่งเสริมให้พวกเขามีพัฒนาการสมวัยได้จากโปสเตอร์นี้เลยค่า
สรุปเนื้อหา กิจกรรมพิเศษ CoFuture Dialogue อนาคตสร้างได้ก่อนวัยเกษียณ
รายงานสุขภาพคนไทย 2562 สื่อสังคมสื่อสองคม
ภาวะงอแงในช่วงเปิดเทอมสามารถเกิดขึ้นได้ ทั้งเด็กระดับชั้นอนุบาลและชั้นประถมศึกษาตอนต้น ซึ่งสาเหตุอาจมาจากการที่เด็กๆ ยังไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานที่ใหม่ๆ ผู้คนใหม่ๆ ได้ดีพอ ดังนั้น เพื่อป้องกันและบรรเทาภาวะงอแงดังกล่าว สสส.มีเคล็ดลับดีๆ ที่ช่วยให้เด็กๆ ปรับตัวรับช่วงเปิดเทอมมาแนะนำกันค่ะ
ครอบครัวคือสิ่งสำคัญสำหรับคนที่ต้องการเลิกบุหรี่ มาเรียนรู้ต้นสายปลายเหตุของการติดบุรี่และให้กำลังใจคนที่คุณรักเลิกบุหรี่สำเร็จ
พบเทคนิคพิชิตนิสัยติดเค็มเพิ่มเติมได้ที่ Infographic นี้นะคะ ^^
ควันบุหรี่มือสาม มาจากของเครื่องใช้ที่มีกลิ่นควันบุหรี่และส่วนเหลือทิ้งของมวนบุหรี่ ซึ่งก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้และหอบหืดได้
สสส.อยากชวนคุณมาพบข้อเท็จจริงใหม่เกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า เพราะจริงๆ แล้ว บุหรี่ไฟฟ้าอันตรายกว่า บุหรี่ธรรมดาถึง 10 เท่าค่ะ
มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย ตระหนักถึงพิษภัยของบุหรี่ โดยเฉพาะในกลุ่มนักศึกษา จึงเริ่มดำเนินงานพัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็นมหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่มาตั้งแต่ปี 2551 โดยมีนโยบายสู่การเป็นมหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่
สำหรับ อสม. หรืออาสาสมัครที่ต้องการหาเทคนิคดีๆ ในการช่วยบำบัดอาการติดบุหรี่ให้คนในชุมชน สสส.ขอแนะนำสื่อ Infographic ดีๆ ชิ้นนี้เลยค่า คลิก!!...
“บ้านสำโรง” ต.ท่าสว่าง อ.เมือง จ.สุรินทร์ เป็นชุมชนทำการเกษตร ซึ่งมีปัญหา การใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลงในการปลูกผักเป็นจำนวนมาก และมีคนป่วยจากการใช้ยาฆ่าแมลง 6 ราย เสียชีวิตจากการใช้ยาฆ่าแมลง 3 ราย จากการใช้ยาฆ่าแมลงปริมาณสูงฉีดพ่นแปลงผักทุกวัน อีกทั้งสังคมของหมู่บ้านในตอนนั้น ก็มีทั้งปัญหาดื่มเหล้าเมาทะเลาะกัน ปัญหาเยาวชน เด็กแว้น ยาเสพติด และปัญหาหมู่บ้านสกปรก เพราะขยะที่มากมาย ไร้การจัดการ
การสนับสนุนให้ “ผู้นำการเปลี่ยนแปลง” สามารถสร้างชุมชนสุขภาวะทางเพศที่ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดการปัญหาของตนเองได้อย่างแท้จริง ตั้งแต่การวิเคราะห์สภาพปัญหาด้วยฐานข้อมูลและสถานการณ์ชุมชน กำหนดแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหา ร่วมลงมือสร้างสรรค์สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีชีวิตทางเพศที่ปลอดภัย ร่วมกับการกำหนดนโยบายท้องถิ่น โดยปัจจุบันมีการดำเนินงานพื้นที่ต้นแบบสร้างเสริมสุขภาวะทางเพศในชุมชนทั่วประเทศ จำนวน 10 พื้นที่ และมีภาคีผู้นำการเปลี่ยนแปลงจำนวน 1,257 คนทั่วประเทศ
คู่มือการเตรียมความพร้อมในการออกกำลังกายสู่ชีวิตใหม่ที่ดีกว่า เพื่อสุขภาพของตนเองและคนรอบข้างรวมเทคนิคการออกกำลังกายต่างๆ รวมถึงการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี
ช่วงหน้าฝนที่ไข้หวัดระบาดหนักแบบนี้ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข จึงมีนโยบายเปิดให้ประชาชนใน 7 กลุ่มเสี่ยงฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ฟรี โดยเป็นวัคซีนเชื้อไข้หวัดใหญ่ 3 สายพันธุ์ ซึ่งพบได้บ่อยตามฤดูกาลในไทยค่ะ และ 7 กลุ่มเสี่ยงนี้มีใครบ้าง? อ่านต่อได้ที่นี่ค่า
องค์การอนามัยโลกได้สนับสนุนให้ลูกได้กินนมแม่เพียงอย่างเดียว โดยไม่มีการให้น้ำและอาหารอื่นจนถึง 6 เดือน จากการสำรวจแม่ ในสถานพยาบาลภาครัฐของสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ พ.ศ. 2556 เกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ พบว่าร้อยละ 33 ของแม่กลุ่มตัวอย่างเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวจนถึง6 เดือน และมีแม่ประมาณร้อยละ 10 ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวมากกว่า 6 เดือนนอกจากนี้จะเห็นว่าอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวในช่วงเดือนที่4 จะมีอัตราลดลงจากเดือนที่ 3 ค่อนข้างมาก ทั้งนี้อาจเป็นเพราะแม่ส่วนหนึ่งที่ต้องกลับมาทำงาน หรือมีความจำเป็นอื่นๆที่ไม่ได้อยู่กับลูก
ข้อบ่งชี้จากงานวิจัยทั้งในและต่างประเทศยืนยันตรงกันว่า เด็กที่ใช้หน้าจอเกินคำแนะนำ มีความเสี่ยงด้านสุขภาพสูง ทั้งในเรื่องโรคอ้วน ปัญหาด้านสายตา พัฒนาการทางสมอง รวมถึงสูญเสียโอกาสในการใช้เวลาเพื่อทำกิจกรรมทางสังคมอื่นๆ ดังนั้นพ่อแม่ผุ้ปกครอง ควรทำอย่างไรไม่ให้น้องๆหนูๆ ติดจอมากเกินไป สสส.มีเทคนิคดีๆ มาแนะนำกันค่ะ
ในนิทรรศการ HEALTH TECH : ทางเลือกสร้างเสริมสุขภาพ’ จากสสส. เพื่อนๆจะได้พบนวัตกรรมสุดเจ๋งที่ช่วยส่งเสริมสุขภาวะมากมาย และหนึ่งในนวัตกรรมดี ๆที่สสส.ได้มีส่วนสนับสนุน และพัฒนา ก็คือ เครื่อง FeelFit อุปกรณ์วัดและติดตามกิจกรรมทางกายอัจฉริยะ ที่ถือกำเนิดมา เพื่อช่วยป้องกันการเกิดกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ NCDs โดยเฉพาะนั่นเองค่ะ
ในยุคดิจิทัลที่ใครๆ ก็สามารถเข้าถึงแอปพลิเคชันต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกสบายให้กับชีวิตได้ ยังมีคนเฉพาะกลุ่มบางกลุ่ม เช่น กลุ่มผู้สูงอายุ หรือผู้พิการ ที่อาจไม่ได้รับโอกาสนี้นะคะ
ปัญหา ‘ยาเสพติด’ เป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชน ปัจจุบันพบว่า มีการเริ่มใช้ยาเสพติดกันมากขึ้น จากหลากหลายสาเหตุ เช่น เพื่อนชวน อยากลองเสพ ความคึกคะนอง ถูกหลอกลวง ตลอดจนความกดดันในครอบครัว สาเหตุจากสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
ดังนั้น ในวันต่อต้านยาเสพติดนี้ สสส.มีถอดบทเรียนดี ๆ ที่จะช่วยให้ชุมชน แก้ปัญหายาเสพติดอย่างยั่งยืนมาแนะนำกันค่ะ สามารถดาวน์โหลดได้ฟรีที่นี่ค่า
ผลการศึกษาโครงการวิจัยครอบครัวไทยในเขตเมืองปี 2557 พบว่า 1 ใน 3 ของครอบครัวเมืองมีสัมพันธภาพน่าเป็นห่วง เนื่องจากขาดการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างผู้ปกครองและลูกหลาน และมีตัวเลขที่น่าเป็นห่วง กล่าวคือ 40% ไม่ค่อยเล่า หรือไม่เล่าอะไรให้คนในครอบครัวฟังเลย โดยเฉพาะลูกๆ ในกลุ่มวัยรุ่นที่อาจมีพฤติกรรมต่อต้าน ไม่เปิดใจพูดคุยกับพ่อแม่
เพื่อลดการแพร่กระจายของยุงที่เป็นพาหะของโรคไข้เลือดออก และโรคต่าง ๆ สสส. จึงต้องร่วมรณรงค์กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย โดยรวมเคล็ดลับและข้อควรรู้เกี่ยวกับยุงลายไว้ที่คลิปนี้แล้วค่ะ
จะดีกว่าไหม ถ้าไม่มีใครในสังคมถูกมองข้าม? สสส. ร่วมสนับสนุนภาคีเครือข่าย เพื่อสร้างสังคมที่เท่าเทียมกัน เพื่อคุณค่าของทุกตัวตน บนสังคมที่ทุกคนเท่าเทียม
โหลดหนังสือ ‘เสียงที่คนอื่นไม่ได้ยิน’ เพื่อสร้างเสริมสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ คลิก ....
พฤติกรรมของคนเราสามารถออกแบบได้-สั่งได้ดั่งใจ-โดยไม่ต้องบังคับจริงหรือ?
จากรายงานสถานการณ์ขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศไทย ปี 2559 พบว่ามีปริมาณการเกิดขยะรวมกันทั้งประเทศ สูงถึง 27.06 ล้านตันต่อปี
โรงเรียนบ้านโคกจำเริญ อ.ปราสาท จ.สุรินทร์ ประสบปัญหาทางด้านโภชนาการและสุขภาวะเด็กไม่ต่างจากโรงเรียนทั่วไป นั่นคือ มีเด็กที่อ้วนไป ผอมไป เตี้ยไป อยู่ในเกณฑ์สูง ผู้บริหารโรงเรียนเห็นถึงปัญหานี้ จึงสมัครเข้าร่วมโครงการเด็กไทยแก้มใส และได้ดำเนินการตามแนวคิด จนสำเร็จเป็นรูปธรรมและกลายเป็นพื้นที่ต้นแบบการเรียนรู้ด้านสุขภาวะ. ซึ่งที่นี่มีกระบวนการอย่างไรบ้าง มาดูกันค่ะ
“บ้านดงบัง” หมู่บ้านสมุนไพรเกษตรอินทรีย์เพื่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
การดำเนินงานป้องกันอุบัติเหตุของอำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น ได้สะท้อนการบูรณาการดำเนินงานร่วมกับทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน โดยยึดพื้นที่เป็นตัวตั้ง นำไปสู่มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนน และมาตรการด้านสังคมและชุมชนเพื่อลดพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ อันเป็นการสร้างความปลอดภัยบนท้องถนนในที่สุด
ในยุคดิจิทัลที่การซื้อขายออนไลน์เป็นเรื่องปกติ แต่ก็ยังมีข่าวเกี่ยวกับการถูกโกงบ้าง โดนหลอกบ้างออกมาเสมอๆ เราจะมีวิธีเช็กร้านค้าออนไลน์เหล่านี้ในเบื้องต้นอย่างไร? สสส.มี Infographic ที่จะช่วยเผยเทคนิคตรงจุดนี้มาฝากกันค่ะ
เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรมในสังคม พร้อมกระตุ้นให้เกิดการเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และรับฟังเสียงของประชากรกลุ่มเฉพาะทุกคน อาทิ ผู้สูงอายุ ผู้พิการ คนไร้บ้าน เด็ก และสตรี ....
สำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ สสส. ได้ดำเนินการและพยายามเสริมสร้างสุขภาวะของประชากรกลุ่มเฉพาะ โดยจะเข้าไปแก้ปัญหา และอุดช่องว่าง 4 ด้าน ดังนี้เลยค่า
สื่อความรู้สุขภาวะงานบุญปลอดเหล้าสำหรับผู้นำการเปลี่ยนแปลง โดยนำเสนอ รูปแบบ กลไก และขั้นตอนการดำเนินงาน รวมทั้งกรณีตัวอย่างจากในพื้นที่ เพื่อสร้างให้เกิดกระบวนการเรียนรู้แก่ภาคีเครือข่าย ผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางสังคม (Change Agent) และประชาชนผู้สนใจ เพื่อนำไปใช้ในการขยายผลต่อยอดได้
จากผลสำรวจพบว่าอาหารชุดที่นิยมนำไปใส่บาตรนั้น มักเป็นอาหารที่มีไขมันสูง กะทิเยอะ ผักและผลไม้น้อย และน้ำปานะก็มีรสหวานเป็นส่วนใหญ่ ส่งผลให้พระสงฆ์มากกว่า 50% เสี่ยงเป็นโรคอ้วน ซึ่งมีอัตราความเสี่ยงสูงกว่าชายทั่วประเทศถึง 28% เลยทีเดียวค่ะ
ดังนั้น เพื่อทำบุญให้ได้บุญจริงๆ สสส.มีเทคนิคเลือกอาหารใส่บาตรที่ดีต่อสุขภาพพระสงฆ์มาแนะนำกันค่ะ ดาวน์โหลด Infographic นี้เพื่อหาคำตอบกันได้เลยค่า
มีคนจำนวนไม่น้อยที่คิดจะเลิกดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะสุรา แม้เพียรพยายามแต่สุดท้ายก็เลิกดื่มสุราได้สำเร็จ ฉะนั้นกำลังใจของผู้ใกล้ชิดเป็นสิ่งสำคัญต่อผู้ดื่มที่อยากเลิก
ช่วงงดเหล้าเข้าพรรษานี้ สำหรับ Change Agent นักรณรงค์ต่าง ๆที่กำลังดำเนินงานเรื่องงดเหล้าเข้าพรรษากันอยู่ สสส.มีข้อควรระวังให้กิจกรรมดำเนินสำเร็จไปได้ด้วยดีมาแนะนำกันค่ะ
ด้วยสภาพทางสังคมในปัจจุบันที่บีบคั้น ทำให้เกิดความเครียดได้ง่ายและโรคซึมเศร้าเข้ามากร้ำกรายชีวิตคนเรากันมากขึ้น หากคุณรู้สึกว่าจิตใจตนเองกำลังอ่อนแอและมีแนวโน้มเป็นโรคซึมเศร้า เราขอให้มาเช็กการเปลี่ยนแปลงสำคัญที่เป็นสัญญาณของโรคนี้เบื้องต้นกันก่อนนะคะ
การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ดูจะเป็นสิ่งที่กลมกลืนอยู่ในชีวิตของผู้คนมาช้านาน โดยมักมีเหตุผลในการดื่ม เช่น เพื่อเข้าสังคม เพื่อสนุก เพื่อลิ้มรส ฯลฯ จนเกิดความเข้าใจต่างๆ นานาที่ผิด มาฟังเฉลยความเชื่อต่าง ๆ ว่าจริงเท็จเป็นอย่างไร
เมื่อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อยากบอกเล่า ความจริง ถึงอันตรายและโทษภัยที่ถูกมองข้ามและละเลย เหมาะกับครูหรือผู้ปกครองนำไปใช้เป็นเครื่องประกอบการเรียน การสอนแก่เด็กและเยาวชนในการรับมือกับ “เครื่องดื่มแอลกอฮอล์” ที่อยู่รอบตัว
แม้ตอนนี้จะเป็นหน้าฝน แต่ตั้งแต่เดือนก.ค. ที่ผ่านมา ได้เกิดภาวะฝนทิ้งช่วง ทำให้เขื่อน 18 แห่ง มีปริมาณน้ำเหลือน้อยกว่าร้อยละ 30 เมื่อเกิดปัญหาแล้งขึ้น ชุมชนท้องถิ่นจะมีแนวทางจัดการน้ำอุปโภคบริโภคอย่างไรบ้าง? คลิกดาวน์โหลด Infographic นี้ทางเว็บไซต์ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะได้เลยค่า
เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนเกิดความตระหนัก และสร้างเสริมความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการบริโภคไอโอดีน สสส.ได้รวบรวบความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับการบริโภคไอโอดีนมาบอกต่อค่ะ จะมีความเชื่ออะไรบ้าง? มาลองเช็กดูกันดีไหมคะ?
ข้อห้ามเกี่ยวกับโฆษณาเครื่องดื่มของมึนเมาต่าง ๆ มีอะไรบ้าง? มาดูไปพร้อม ๆ กันกับสสส.ได้เลยค่ะ
เมื่อก่อนคน ต.เสียว อ.โพธิ์ศรีสุวรรณ จ.ศรีสะเกษ ขึ้นชื่อว่าเป็นนักดื่มตัวยง ไม่ว่าจะงานบุญ งานแต่ง งานศพ เจ้าภาพต้องเลี้ยงเหล้าแขกเหรื่อให้เต็มที่ จนกระทั่งปี 2550 ‘กลุ่มก่อการ’ งานงดเหล้าต.เสียวได้วิเคราะห์ว่า ปัญหาทะเลาะวิวาท ความรุนแรงในครอบครัว ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง ส่วนใหญ่เกิดจากการดื่มจนเมามายขาดสติ จากจุดนั้นจึงเกิดการขับเคลื่อน ‘งานงดเหล้า’ อย่างจริงจัง โดยการสนับสนุนจากสสส. เข้ามาบรรจบกัน จน 3 ปีหลังจากนั้น ต.เสียวได้กลายเป็นต.ปลอดเหล้าในงานบุญประเพณี ในที่สุดค่ะ ซึ่งจะมีกระบวนการดำเนินการอย่างไรบ้าง? มาดูกันค่ะ
เนื้อหาประกอบนิทรรศการ "HAPPY 8 นิทรรศการความสุขไม่รู้จบ" ที่ สสส. ได้สังเคราะห์มาบนพื้นฐานของความต้องการให้เกิดความสุขที่สมดุลต่อ เยาวชน วัยทำงานและประชาชนทั่วไป และหลักการเบี้องต้น ที่จะสร้างเสริมสุขภาพที่ดีและมีความสุข
ชุมชนบ้านเขายี่สาร มีประวัติความเป็นมาเก่าแก่ยาวนาน
'18 ปี' เป็นเวลาไม่มาก ไม่น้อย แต่ก็นานเพียงพอที่จะทำให้ใครสักคนเริ่มรู้จักกับโลกวัย 18 เป็นวัยสำหรับการทดลองและตัดสินใจ เพื่อสั่งสมองค์ความรู้ก่อนจะก้าวไปสู่ความเป็นผู้ใหญ่เต็มตัว
นอกเหนือจากการคัดแยกขยะแล้ว เราควรคำนึงถึงการลดจำนวนขยะด้วยการลดการใช้ รู้จักปฏิเสธสิ่งที่รู้ว่าจะเป็นขยะในอนาคต และเลือกใช้สินค้าที่มีอายุการใช้งานนาน ๆ เพื่อช่วยลดจำนวนขยะที่ต้นตอนั่นเองค่ะ โดยจะมีวิธีใดบ้าง สสส.ยกตัวอย่างมาไว้ที่นี่แล้วค่ะ ^^