ศูนย์บริการ
'สื่อการเรียนรู้สุขภาวะ'
ผู้ที่สนใจสามารถดาวน์โหลดสื่อ
ความรู้ต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้ต่อยอด
การเรียนรู้ สู่การมีสุขภาวะ
ที่ดีในทุกมิติ
การลดปริมาณโซเดียมในประชากรให้ได้ 30% ใน 5 ปีข้างหน้า ถือเป็นภารกิจสำคัญที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศให้เป็นภารกิจหนึ่งในสามอันดับแรกที่คุ้มต่อการลงทุน เพื่อลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จะเห็นว่าการรณรงค์ลดการทานโซเดียมของประชาชนเป็นวาระสำคัญของโลกมากๆ และปัจจุบันที่ต่างประเทศมีมาตรการในการลดโซเดียมอย่างไรบ้าง? เรามาดูตัวอย่างดีๆที่สสส.หยิบยกมาฝากกันนะคะ
1.อังกฤษและฟินแลนด์ : ใช้มาตรการ สำคัญ 4 อย่าง คือ การรณรงค์เพื่อสร้างความรับรู้ ในประชากร การลดปริมาณโซเดียม ในผลิตภัณฑ์อาหาร มุ้งเน้นการลดในกระบวนการผลิต การติดฉลาก และการใช้ข้อบังคับกฎหมาย หรือภาษี
2.ฮังการี : เก็บภาษีขนมขบเคี้ยว เครื่องปรุงรสบางชนิด ผลิตภัณฑ์ 10-15% ในปี 2554 ทำให้ประชาชนลดเค็มได้ถึง 20-35%
3.โปรตุเกส : ร่างเก็บภาษีอาหารสำเร็จรูปที่มีโซเดียมสูงในปี 2561 เช่นเวเฟอร์ บิสกิต มันฝรั่งทอด
4.อเมริกา : ปรับสูตรลดโซเดียมในอาหารและขนมขบเคี้ยว ช่วยลดผู้ป่วยโรคความดันได้ 11 ล้านคน/ปี
5.แคนาดา : กระทรวงสาธารณสุขกำหนดเป้าหมายลดโซเดียมในอาหารสำเร็จรูป
สำหรับประเทศไทยนั้น นอกจากจะสร้างการรับรู้ ทำให้ฉลากมีมาตรฐานแล้ว ตอนนี้กำลังมีแนวคิดเก็บภาษีอาหารที่มีโซเดียมสูง เพื่อให้ผู้#เป๊กผลิตโชคระกอบการปรับสูตรอาหารลดปริมาณโซเดียมลง เพื่อให้ได้ลดภาษี และส่งผลดีต่อประชาชนเช่นกัน
ในส่วนของสสส. เรายังให้ความร่วมมือกับทุกภาคส่วน เพื่อให้คนไทยมีสุขภาพดีต่อเนื่อง ด้วยแนวทางปรับลดปริมาณโซเดียมในอาหารหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ รวมทั้งพยายามจัดแคมเปญรณรงค์สร้างความรับรู้เรื่องโทษของโซเดียมให้แก่ประชาชน เช่น โครงการลดเค็มลงครึ่งหนึ่ง หรือลดเค็มลดโรค เป็นต้นค่ะ
ขอบคุณข้อมูลจาก รายการพลิกปมข่าว ช่อง TPBS, จดหมายชุมชนคนรักสุขภาพ_ฉบับสร้างสุข_ประจำเดือนธันวาคม_2561